ภาษีที่ดินและอุปกรณ์คืออะไร

ภาษีที่ดินและอุปกรณ์คืออะไร


มารู้จักกับคำถามยอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อสินทรัพย์อย่างคำถามที่ว่า การทำบัญชีที่ดินและอุปกรณ์สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ หากให้ดูตามข้อกฎหมายก็จะพบว่าจริง ๆ แล้วทางสรรพากรกล่าวว่า “รายงานที่มีลักษณะเป็นการลงทุน หมายถึงรายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่อกิจการ ที่เป็นระยะเวลายาวนานถึง 1 ปี เพื่อรอระยะบัญชี” สามารถแปลได้ง่าย ๆ ว่า หากคุณซื้อสินทรัพย์ เช่น รถยนต์ เพื่อนำมาใช้กับกิจการงานต่าง ๆ ในราคา 2 ล้านบาท นั่นหมายความว่าคุณต้องใช้งานรถยนต์ไปก่อน 1 ปี หลังจากนั้นให้บันทึกรถยนต์เป็นสินทรัพย์ถาวรก่อนที่จะต้องทยอยเสียค่าใช้จ่ายในรูปแบบของค่าเสื่อมราคา แต่ทว่าหากให้อธิบายโดยที่ไม่ทราบอะไรเลยอาจจะเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจ ดังนั้นสิ่งที่ควรรู้หากต้องการทำบัญชี ที่ดินและอุปกรณ์ก็คงจำเป็นที่จะต้องเริ่มจากการทำความรู้จักกับสินทรัพย์ถาวรกันก่อน

สินทรัพย์ถาวรคืออะไร ทำไม? ถึงต้องรู้จัก และเกี่ยวข้องอะไรกับการทำบัญชี

สินทรัพย์ถาวรหรือทรัพย์สินถาวร คือ ที่ดินและอุปกรณ์ ถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตหรือใช้ประกอบในการจัดจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่าหรือเพื่อการบริหารงานและเป็นกิจการที่ใช้ประโยชน์มากกว่า 1 รอบปี ในส่วนของที่ดินและอาคารสามารถยกตัวอย่างได้เช่น ส่วนปรับปรุงที่ดิน ส่วนปรับปรุงอาคาร อาคารสำนักงาน อาคารโรงงาน อาคารโกดังสินค้า ในส่วนของอุปกรณ์ ยกตัวเช่น เครื่องจักร เครื่องตกแต่งและจัดตั้ง ไปจนถึงอุปกรณ์สำนักงานและยานพาหนะ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสินทรัพย์ที่กำลังก่อสร้างและพืชที่ให้ผลผลิตจากการทำเกษตรกรรมด้วย

ทั้งนี้สาเหตุที่สินทรัพย์ถาวรเกี่ยวข้องกับการทำบัญชีก็มีสาเหตุมาจากเรื่องของ ค่าเสื่อมราคา ซึ่งสินทรัพย์บางอย่างหากซื้อมาใช้งานแล้วก็คงจะไม่มีทางที่จะเกิดการสึกหร่อขึ้นในทันที ดังนั้นจึงต้องมีการทิ้งระยะเวลาเอาไว้อย่างน้อย 1 ปีเป็นต้นไปจึงจะสามารถคิดบัญชีค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ได้

ลักษณะสำคัญของที่ดินและอุปกรณ์สำหรับทำบัญชี

ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาว่าสินทรัพย์เหล่านั้นคือที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการทำบัญชีจริง จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ให้เป็นไปโดยละเอียด ทั้งนี้สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาสินทรัพย์ก็จะมีเกณฑ์การพิจารณาสำคัญดังต่อไปนี้
  1. สินทรัพย์ที่ได้มาเพื่อดำเนินกิจการและไม่ได้ถือครองเอาไว้เพื่อขาย : เป็นสินทรัพย์กลุ่มที่มีการใช้ในกิจการเท่านั้นจึงจะถูกจัดว่าอยู่ในกลุ่มของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เช่น อาคารว่างที่กิจการถือครองเอาไว้แต่ยังไม่ได้ทำอะไร หรือที่ดินสำหรับใช้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
  2. สินทรัพย์ที่สามารถให้ประโยชน์ได้ในระยะยาวและมักเกิดการเสื่อมสภาพ : โดยส่วนใหญ่แล้วอาคาร ที่ดินหรืออุปกรณ์เป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานได้หลายปี และจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงไป จนกลายมาเป็นต้องมีค่าเสื่อมราคาในอนาคต ยกเว้นที่ดินที่จะไม่มีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาแต่อาจจะเสื่อมสภาพในกรณีที่มีการดินเพื่อการเกษตรกรรมและใช้งานแร่ธาตุในดินไปเรื่อย ๆ จนหน้าดินเสื่อม เป็นต้น
  3. สินทรัพย์ที่สามารถครอบครองได้ทางกายภาพ : ทั้งที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้และมีอยู่ในความเป็นจริงโดยกายภาพ
สามารถสรุปได้ว่าสินทรัพย์ถาวรจะต้องเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง มีตัวตน, มีไว้ให้สามารถใช้งานได้, มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี, มีการเสื่อมสภาพและมีมูลค่าอยู่พอสมควรจึงจะสามารถทำบัญชีค่าใช้จ่ายได้จริง

หลักเกณฑ์ของค่าเสื่อมราคาเพื่อใช้ในการทำบัญชี ที่ดินและอุปกรณ์

จากที่กล่าวไปข้างต้นเมื่อผู้ประกอบการสร้างความน่าเชื่อถือในการจดทะเบียนบริษัทแล้ว ก็คงพอจะทำให้รู้จักกับค่าเสื่อมราคากันไปไม่มากก็น้อยแล้ว ดังนั้นหากสรุปสั้น ๆ คร่าว ๆ ก็สามารถกล่าวได้ว่าค่าเสื่อมราคาก็คือ ค่าใช้จ่ายหลังจากมีการลงทะเบียนสินทรัพย์ถาวรแล้วนั่นเอง

ทั้งนี้หลักเกณฑ์สำคัญในการคิดค่าเสื่อมราคาเพื่อใช้ในการทำบัญชี อย่างแรกมูลค่าของการเสื่อมสภาพจะต้องมีการปันส่วนอย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งาน นอกจากนี้ในการคิดค่าเสื่อมสภาพยังต้องคำนึงถึงประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจจากการใช้สินทรัพย์และยังต้องมีการรับรู้ค่าเสื่อมราคาในรูปแบบของค่าใช้จ่ายอยู่ตลอด เว้นกรณีที่มีการนำไปรวมกับสินทรัพย์

นอกจากนี้หากกล่าวถึงวิธีการในการคำนวณค่าเสื่อมราคาก็จะมีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นวิธีเส้นตรง, วิธียอดลดลง, วิธีผลรวมจำนวนปี และวิธีตามปริมาณหน่วยผลิต ซึ่งในการเลือกใช้วิธีการคำนวณแต่ละวิธีก็จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับรูปแบบของประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและเป็นรูปแบบที่มีการใช้อยู่ก่อนอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วจึงจะเหมาะสมที่จะเลือกวิธีนั้น ๆ มาใช้ในการคำนวณเพื่อทำบัญชีคิดค่าเสื่อมราคา ในการหักค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวรแต่ละประเภทก็จะมีการแบ่งประเภทของสินทรัพย์แตกต่างกันไป ได้แก่
  1. กลุ่มอาคารที่แบ่งออกเป็นอาคารถาวรหักค่าเสื่อมราคา 5% 20 ปี และอาคารชั่วคราวหักค่าเสื่อมราคา 100% 1ปี
  2. กลุ่มต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปจะถูกหักค่าเสื่อมราคา 5% 20 ปี
  3. กลุ่มต้นทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเช่าทั้งกรณีที่มีหนังสือสัญญาที่กำหนดอายุหรือไม่กำหนดอายุจะคิดค่าเสื่อมราคาที่ 10% 10 ปี หรือตามอายุการเช่า
  4. กลุ่มเครื่องหมายทางการค้า ทั้งแบบไม่จำกัดอายุการใช้งานและแบบที่จำกัดอายุการใช้งานจะเสียค่าเสื่อมราคา 10% 10 ปี ตามอายุของวัตถุ และ
  5. กลุ่มทรัพย์สินอื่น ๆ อาทิเช่น เครื่องจักรต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ในสำนักงาน เป็นต้น จะมีการหักค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ 20 % 5 ปี ทั้งนี้สำหรับที่ดินในกรณีทั่วไปจะไม่มีการหักค่าเสื่อมราคาแต่อย่างใด

คุณสมบัติของผู้รับทำบัญชี

ผู้ทำบัญชี มีการกำหนดคุณวุติการศึกษาของผู้ทำบัญชีที่สามารถรับทำบัญชีได้ ดังต่อไปนี้

1. คุณวุฒิของผู้ทำบัญชี

     1.1 ผู้ทำบัญชีวุฒิขั้นต่ำอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) สาขาการบัญชีและสามารถที่จะจัดทำบัญชีได้ตามเงื่อนไข ต่อไปนี้

  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาทหรือมีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านหรือมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
  • บริษัทจำกัดที่ได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีทุนในการจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาทหรือมีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านหรือมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

     1.2 ผู้ทำบัญชีวุฒิปริญญาตรี สาขาการบัญชี สามารถจัดทำบัญชีได้ทุกนิติบุคคล

2. คุณสมบัติอื่นๆ ของผู้ทำบัญชี

     2.1 มีภูมิลำเนาหรือที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย

     2.2 มีความรู้ด้านภาษาไทยที่เพียงพอต่อการเป็นผู้รับทำบัญชี

     2.3 ไม่เคยต้องโทษที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำกัดคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามกฏหมายว่าด้วยการบัญชีหรือกฏหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีและกฏหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี= 

คุณสมบัติในการทำงานของผู้ทำบัญชี

นอกจากคุณสมบัติด้านวุฒิการศึกษาและอื่นๆ ตามที่กฎหมายได้กำหนดแล้ว การเลือกผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการและหรือผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี ควรมีคุณสมับัติและอุปนิสัยที่ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียด คือ
  1. ผู้ทำบัญชีจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ ผู้ทำบัญชีจะต้องรับรู้เกี่ยวกับตัวเลขและการเคลื่อนไหวด้านการเงินขององค์กรหรือผู้ที่ต้องทำบัญชีอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ทำบัญชีที่ดีจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับองค์กรในด้านการเงินให้บุคคลที่สามหรืออื่นๆ เด็ดขาด
  2. ผู้ทำบัญชีควรมีความอดทน รับผิดชอบ และขยันในการทำงานเกี่ยวกับบัญชีให้ตรงตามกำหนดเวลาและถูกต้อง
  3. ผู้ทำบัญชีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำบัญชีที่ถูกต้อง มีความแม่นยำและมีความรู้เกี่ยวกับบริษัทที่จะต้องนำมาประยุกต์เข้าด้วยกันในการจัดทำบัญชี
  4. ผู้ทำบัญชีที่ดีควรมีความละเอียดและรอบคอบในการรับมอบเอกสารการเงินหรือการมอบเอกสารด้านการเงิน จัดเก็บเอกสารในที่ปลอดภัย

เงื่อนไขในการเป็นผู้ทำบัญชี

ผู้ทำบัญชี จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเป็นผู้ทำบัญชี โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกวิชาชีพบัญชีหรือได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี โดยนับตั้งแต่วันเริ่มทำบัญชี ผู้ทำบัญชีจะต้องแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรัมพัฒนาธุรกิจการค้าพร้อมสำเนาหลักฐานภายในระยะเวลา 30 วัน
  2. กรณีที่มีการเปลี่ยนรายการที่ได้ลงทะเบียนหรือแจ้งไว้รวมถึงการยกเลิกเกี่ยวกับการรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ผู้ทำบัญชีจะต้องแจ้งการเปลี่ยนผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าพร้อมสำเนาหลักฐานภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
  3. ผู้ทำบัญชีจะต้องยืนยันรายชื่อของผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ตนได้รับทำบัญชีพร้อมทั้งสถานภาพการขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพและสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทินเป็นประจำทุกปี
  4. ผู้ทำบัญชีจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพทางบัญชีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งจะมีการแจ้งผ่านทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าพร้อมกับแสดงหลักฐานการพัฒนาความรู้
  5. ผู้ทำบัญชีจะต้องรับทำบัญชีให้กับผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดทำบัญชีไม่เกิน 100 รายต่อปี

บทสรุป

ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าในการทำบัญชี ที่ดินและอุปกรณ์สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้โดยอยู่ในรูปของค่าเสื่อมราคา ซึ่งก็มีเงื่อนไขในการจ่ายเงินที่แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของสินทรัพย์ นอกจากนี้อีกส่วนหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาค่าเสื่อมราคานั่นก็คือ ประโยชน์ของสินทรัพย์ ซึ่งสินทรัพย์ถาวรจำเป็นที่จะต้องมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจจึงจะสามารถมั่นใจได้ว่าสินทรัพย์ชิ้นนั้นเป็นสินทรัพย์ถาวรจริง


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ขอบคุณบทความจาก : StationAccount
 304
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งานที่ปรึกษาทางธุรกิจ ไม่ใช่งานที่จะมีบรรจุเป็นหลักสูตรสาขาเหมือนสาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ งานประเภทนี้จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหลายๆด้านรวมกัน ดังนั้นทางเดินของสายอาชีพนี้ไม่อาจจะตายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามทุกอาชีพมีโอกาสเติบโต โดยส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์ ทำ Data Collection หรือ ทำ Research และ พัฒนากับทีมโปรแกรมเมอร์ ต่อมาอาจจะเป็น Consultant เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรโดยรวม พร้อมทั้งสร้างโครงสร้างทีแข็งแกร่ง ส่วนขั้นตอนต่อๆไป คือ Senior Consultant เนื่องจากได้สะสมประสบการณ์มาแล้วได้เวลาเติบใหญ่เป็นหัวหน้าทีม จนสุดของเส้นทางคือเป็น Principal / Director นั่นเอง อาจต้องใช้เวลาซักนิดแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแรงกายแน่นอน ในบทความนี้จะพูดถึง คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่ควรมีอะไรบ้าง
Consultant ( Business Consultant ) หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คือการที่ให้คำปรึกษาต่อธุรกิจนั้นๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร ลดรายจ่าย รวมทั้งต้องวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมีเป้าหมายคือการที่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดี ไปเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบบัญชีเงินเดือนคืออะไร ระบบจัดการบัญชีเงินเดือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามบันทึกทางการเงินของพนักงาน และดำเนินการตามขั้นตอนการบริหาร ไม่เพียงแต่ติดตามเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังมีเรื่องของโบนัส การหักเงิน และสิ่งจูงใจที่ได้รับ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในยุคที่มิจฉาชีพพร้อมเข้าถึงคุณทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ข้อความ SMS รวมถึงลิงก์ต่าง ๆ ตามเว็บบราวเซอร์ในอินเทอร์เน็ต เอาว่าแค่กด 1 ครั้งชีวิตก็เป็นหนี้ได้ จะเห็นว่ากลโกงต่าง ๆ ขยับเข้ามาอยู่รอบตัวเรามากขึ้น รันทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งประกาศงานปลอม ทำอะไรก็ต้องระแวดระวังไปหมด อันไหนจริงอันไหนปลอม เราเองในฐานะผู้สมัครงานจำต้องมีสติและวิจารณญาณที่ดีอยู่เสมอ
“ลาป่วยกรณีไหนต้องใช้ใบรับรองแพทย์” เป็นอีกหนึ่งปัญหาคาใจชาวออฟฟิศไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ก็ตาม เพราะไม่แน่ใจว่าลาป่วยแบบนี้ได้ไหม จะให้เอ่ยปากถามตรง ๆ ก็กลัวจะได้คำตอบว่ากฎระเบียบของบริษัทเป็นแบบนี้ ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าในใจจะแอบสงสัยอยู่ลึกๆ ว่า สวัสดิการวันลาที่บริษัทให้มันแฟร์กับพนักงานอย่างเรา ๆ หรือเปล่า? ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหรือไม่ ยิ่งในยุคแห่งโควิด-19 ที่วันลาป่วยต้องหายไปฮวบฮาบจนทำให้หลายคนวันลาป่วยแทบหมด ไม่เหลือให้ป่วยอะไรได้อีก เราเลยอยากชวนมาไขข้อข้องใจเรื่องสิทธิการลาป่วยที่มนุษย์ออฟฟิศอย่างเราควรได้กันดีกว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์