เอกสารที่ใช้ประกอบค่าใช้จ่ายของกิจการ ในกรณีที่หลักฐานไม่เพียงพอ

เอกสารที่ใช้ประกอบค่าใช้จ่ายของกิจการ ในกรณีที่หลักฐานไม่เพียงพอ



การบันทึกค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องในการทำธุรกิจนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเอกสารที่ใช้ประกอบค่าใช้จ่ายของกิจการ ก็เป็นเรื่องต้องทำให้ถูกต้องเช่นกันเพื่อเป็นหลักฐานการยืนการใช้จ่ายนั้นๆ

หลายครั้งที่ไม่สามารถหาหลักฐานมาประกอบการใช้จ่ายได้ ทั้งๆที่เป็นการใช้จ่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับกิจการโดยเฉพาะ แต่ในความเป็นจริงแล้วหากพิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้เกิดขึ้นจริงกับกิจการโดยเฉพาะแต่ในความเป็นจริงแล้ว หากพิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้เกิดขึ้นจริงกรมสรรพากรก็มีแนวทางปฏิบัตให้ถูกต้องได้

โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายไปเพื่อประโยชน์ของกิจการจริง แต่ไม่มีหลักฐานการรับเงินเพียงพอ สามารถจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีได้ แยกเป็นกรณีดังนี้

  • เอกสารที่ใช้ประกอบค่าใช้จ่ายของกิจการ

1. ใบรับเงิน

กรณีผู้รับเงินยินยอมออกใบรับเงิน (ตามมาตรา 105 ทวิ) ในใบรับเงินและสำเนาใบรับเงิน ต้องมีรายละเอียดตัวเลขไทยหรือเลขอารบิค และอักษรภาษาไทย หากทำเป็นภาษาต่างประเทศก็ให้มีภาษาไทยกำกับด้วยนะครับ ต้องมีรายละเอียดดังนี้

- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับเงิน

- ชื่อของผู้ออกใบรับเงิน

- เลขที่เอกสารของใบรับเงิน

- วันเดือนปีที่ออกใบรับเงิน

- จำนวนเงินที่ได้รับ

- ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า

- ถ้าเป็นการขายสินค้าให้กับผู้ซื้อซึ่งขายสินค้าประเภทเดียวกันต้องแสดงชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อไว้ในใบรับเงินด้วยทุกครั้งที่มีการรับเงิน

2. ใบสำคัญรับเงิน

กรณีที่ผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน และยินยอมให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สามารถใช้เอกสาร “ใบสำคัญรับเงิน” ได้

3. ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

กรณีจ่ายค่าสินค้าหรือบริการเบ็ตเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ จำเป็นต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินนั้น ก็สามารถใช้เอกสาร “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน” ได้เช่นกัน

4. ใบสำคัญจ่าย

กรณีที่มีค่าใช้จ่ายแต่ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีระบุเป็นชื่อผู้อื่น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น แต่กิจการสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการเป็นผู้จ่ายเงินจริง และมีหลักฐานอื่นๆ แนบ เช่น สัญญาเช่า เป็นต้น ให้จัดทำเอกสาร “ใบสำคัญจ่าย” โดยระบุรายละเอียดดังนี้

- ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้รับเงิน

- วันที่จ่ายเงิน

- ระบุประเภทของรายการที่จ่าย และจำนวนเงินที่จ่าย

- ลงลายมือชื่อผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐาน

- มีการลงนามอนุมัติจ่ายโดยผู้มีอำนาจเท่านั้น



  • กรณีนี้ต้องแนบหลักฐานการจ่ายเงินต่าง ๆ ด้วยนะคะได้แก่

- หลักฐานการจ่ายเงิน เช่น สำเนาเช็คระบุชื่อผู้รับเงิน หรือหลักฐานการตัดบัญชี (Bank Statement) หรือสำเนาใบโอนเงินธนาคาร หรือสลิปโอนเงินอิเลคทรอนิกส์อื่นๆ

- ในกรณีชำระเป็นเงินสด ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงิน

- เอกสารพิจารณาที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงานการประชุมที่มีมติให้อนุมัติเป็นรายจ่ายได้ จดหมายผู้บริหาร คำรับรองอนุมัติรายจ่าย รายการเบิกจ่ายที่ผ่านการอนุมัติและมีลายมือชื่อผู้อนุมัติจ่าย เป็นต้น

- ห
ลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย

 560
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่
ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?
ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน
ลูกหนี้การค้า ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
( ภาษาอังกฤษ There are many types )บัญญัติศัพท์โดยให้สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของหนี้สินว่า หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลอื่นหรือพันธะอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืมหรือเกิดจากการอื่น ซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์ หรือบริการ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์