"รายจ่ายต้องห้าม" คืออะไร? พร้อมเปิดวิธีเปลี่ยนเป็น "ค่าใช้จ่าย"

"รายจ่ายต้องห้าม" คืออะไร? พร้อมเปิดวิธีเปลี่ยนเป็น "ค่าใช้จ่าย"


ข้อดีอย่างหนึ่งของการจดบริษัท หรือจดเป็น "นิติบุคคล" คือ ภาษีคิดจากกำไรสุทธิ หลังหักค่าใช้จ่าย ดังนั้นหมายความว่า การบริหารค่าใช้จ่ายที่ดีจะสามารถทำให้กิจการประหยัดภาษีได้อย่างมาก 

วันนี้เรามีเทคนิคประหยัดภาษี โดยการเปลี่ยน "รายจ่ายต้องห้าม" ให้สามารถใช้เป็น ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรยอมรับ มาแนะนำกันค่ะ

รายจ่ายต้องห้าม คืออะไร? 

รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้

เช่น รายจ่ายที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

- รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว ไม่เป็นไปตามระเบียบของกิจการ 
- รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง 
- รายจ่ายที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ 
- รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม รายจ่ายค่าปรับ ค่ารับรอง

แต่จริงๆ แล้วเราสามารถเปลี่ยนให้ “รายจ่ายต้องห้าม” เป็นรายจ่ายที่ถูกต้อง และสรรพากรยอมรับ ให้ใช้เป็น "ค่าใช้จ่าย" ได้ โดยรายจ่ายนั้นต้องเอื้อประโยชน์ต่อกิจการ และสามารถพิสูจน์ได้ว่าจ่ายออกไปจริง สามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายในการคำนวณหักภาษี ทำให้กิจการสามารถประหยัดภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

ตามไปดูกันค่ะ ว่ามีรายจ่ายลักษณะไหนบ้าง และกิจการต้องทำอย่างไร จึงจะใช้ประโยชน์ทางภาษีจากรายจ่ายต้องห้ามเหล่านี้

1. ค่าศึกษา/อบรมพนักงาน  มีใบเสร็จรับเงินถูกต้องสมบูรณ์และจ่ายเพื่อพัฒนาองค์กร

รายจ่ายที่เกิดจากการที่กิจการได้จ่ายเพื่อส่งให้พนักงานเข้ารับการศึกษาหรืออบรม หากมีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรม รวมถึงพนักงานที่ฝึกอบรมต้องกลับมาทำงานเพื่อสร้างประโยชน์พัฒนาองค์กรต่อไป รายจ่ายลักษณะนี้ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม และยังนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า

โดยการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1) In-house Training โดยบริษัทเป็นผู้จัดฝึกอบรมขึ้นเอง หรือจ้างบริษัทฝึกอบรมสัมมนาเข้ามาจัดฝึกอบรมให้

2) Public Training โดยส่งพนักงานไปรับการฝึกกับบริษัทฝึกอบรมสัมมนา สถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา)

หากรายจ่ายการส่งพนักงานเข้าฝึกอบรมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 148) กิจการสามารถนำรายจ่ายดังกล่าวไปใช้หักภาษีได้มากถึง 2 เท่า อย่างเช่นจ่ายค่าอบรม 10,000 บาท สามารถนำมาคำนวณหักภาษีได้ 20,000 บาท  

2. ค่าสัมมนานอกสถานที่   บริษัทระบุกฎระเบียบชัดเจนใช้โดยทั่วไปและเพื่อพัฒนาองค์กร

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายที่จ่ายสำหรับค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่กิจการจัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ เพื่อการอบรมสัมมนาภายในประเทศ เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง

เงื่อนไขคือต้องมีระเบียบชัดเจน และพนักงานทุกคนมีสิทธิเข้าร่วม รวมถึงเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมของพนักงาน และเอื้อประโยชน์แก่การพัฒนาองค์กรของกิจการ สามารถนำมาเป็นหลักฐานเพื่อใช้หักภาษีได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม 

ที่สำคัญ รายจ่ายดังกล่าวต้องจ่ายไปภายในวันที่ 1 มกราคม 2563 – 30 กันยายน 2564 เท่านั้น

นอกจากนี้ยังสามารถนำค่าเดินทาง ค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก อาหารเครื่องดื่มที่เกี่ยวกับการสัมมนา รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา เช่น ค่าวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบสัมมนา ค่าบันทึกภาพ ค่าจัดทำสื่อเกี่ยวกับการสัมมนา ที่มีใบกำกับภาษี และ “ไม่เป็นภาษีต้องห้าม” มาขอคืนภาษีซื้อได้ด้วย

กิจการต่างๆ ที่มี outing ประจำปีให้แก่พนักงาน รายจ่ายเหล่านี้จะสามารถนำมาหักค่าให้จ่ายได้ ตามที่จ่ายจริง แต่การ outing ดังกล่าวถือเป็นผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับ จึงต้องนำไปรวมเป็นรายได้ของพนักงานเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดาด้วย 

ดังนั้น หากเราเปลี่ยนจากพาพนักงานไปพักผ่อนประจำปี เป็นการสัมมนา หรือ team building นอกสถานที่ นอกจากพัฒนาความรู้ของพนักงานแล้วยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า โดยที่ไม่ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของพนักงานอีกด้วยค่ะ

3.บริจาคให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีใบเสร็จรับเงินถูกต้องสมบูรณ์

รายจ่ายของกิจการในการบริจาคให้กับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในนามบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ให้แก่ กสศ. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 
และมีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้องสมบูรณ์ จึงจะถือเป็นรายจ่ายที่สรรพากรยอมรับ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ถึง 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะบริจาคเป็นเงินหรือทรัพย์สิน 

เงื่อนไขคือเมื่อรวมกับรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการเห็นชอบ ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษา หรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร 

การบริจาคเงินให้แก่กองทุนนี้นอกจากจะประหยัดภาษีแล้ว ยังเปิดโอกาสให้กิจการได้ช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และมีส่วนช่วยในการลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาอีกด้วย

สรุป

แนวทางการประหยัดภาษีนิติบุคคล โดยเปลี่ยนรายจ่ายต้องห้ามให้สามารถนำมาหักภาษีได้นั้น กิจการต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดข้อมูลในเอกสาร ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ประกอบการหักภาษี จำเป็นต้องครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้รายจ่ายดังกล่าวกลายเป็น รายจ่ายต้องห้าม 

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในการฝึกอบรมพนักงาน การออกไปสัมมนานอกสถานที่ รวมทั้งการบริจาคเงินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ที่จะสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า ต้องเป็นไปตาม วิธีการ เงื่อนไข ที่สรรพากรกำหนดด้วยค่ะ


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา :  
LINK

 962
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินได้มาตรา 40(1) หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย
เงินสดย่อย หมายถึง เงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเบิกธนาคารมาเก็บไว้กับแคชเชียร์ (หรือผู้รักษาเงินสดย่อย)  เพื่อกิจการจะได้มีไว้ใช้จ่าย  สำหรับรายการที่มีจำนวนไม่สูงมากนัก 
ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์