e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์

e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์



e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ


สำหรับผู้จ่ายเงิน
  • สามารถจ่ายเงินและยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ครบจบในขั้นตอนเดียว ผ่านระบบออนไลน์ 
  • ลดต้นทุนในการจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ไม่ต้องออกและจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยสามารถตรวจสอบข้อมูล และดาวน์โหลดหลักฐานการหักภาษีได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (ต้องลงทะเบียนกับกรมสรรพากรก่อนการใช้บริการ)
  • สะดวก ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับกรมสรรพากรด้วยตนเอง และสามารถชำระเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเติม ผ่านช่องทางที่ธนาคารกำหนดได้
  • สามารถตรวจสอบผลการโอนเงิน และการชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากรายงานผ่านช่องทางออนไลน์ (www.rd.go.th) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 
  • หากจ่ายเงินโดยใช้ระบบ อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะลดเหลืออัตรา 1% (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2566-31 ธันวาคม 2568)
สำหรับผู้รับเงิน 
  • ได้รับการแจ้งรายการโอนเงิน และข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผ่านทางอีเมล (ตามที่ผู้จ่ายเงินได้ระบุไว้ในคำสั่งโอนเงิน)
  • ไม่ต้องจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยสามารถตรวจสอบข้อมูล และดาวน์โหลดหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร (ต้องลงทะเบียนกับกรมสรรพากรก่อนการใช้บริการ)
  • มีสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้น จากอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ลดลง ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เมื่อผู้จ่ายเงินใช้บริการ e-Withholding Tax

วิธีใช้งาน
1.สมัครขอรับบริการกับธนาคารที่รองรับระบบ E-withholding tax แล้ว
2.เมื่อโอนเงินให้ผู้รับและต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ส่งข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของผู้รับด้วย ผ่านระบบโอนเงินของธนาคาร
3.ธนาคารจะทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงินภายในเวลา 4 วัน
4.ทั้งผู้โอนเงินและผู้รับสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ภายใน 6 วัน ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th ของกรมสรรพากร โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ Password ที่เคยยื่นภาษีของระบบ e-Fillng ได้เลย
โดยไม่ต้องสมัครบริการใดๆ เพิ่มเติมอีก


สมัครใช้บริการกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ e-Withholding Tax ได้แล้ว จำนวน 11 แห่ง 
สถาบันการเงินที่พร้อมให้บริการแล้ว 9 แห่ง

1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
5. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด สาขากรุงเทพ
6. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
9. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

สถาบันการเงินที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบระบบ 2 แห่ง
1. ธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาต
2. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

อัตราค่าบริการ
เป็นไปตามที่แต่ละธนาคารกำหนด สูงสุดไม่เกิน 10 บาทต่อรายการโอน 1 ครั้ง


ที่มา : www.itax.in.th,กรมสรรพากร
 1363
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กระดาษทำการ (Work Sheet) หมายถึง แบบฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำงบการเงินมาไว้ที่เดียวกันกระดาษทำการเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงรายการตอนสิ้นงวดก่อนปิดบัญชีดังนั้นกระดาษทำการจะจัดทำขึ้นภายหลังที่ได้จดบันทึกรายการต่าง ๆ ของธุรกิจในบัญชีครบถ้วนแล้วแต่ยังไม่ได้ลงรายการปรับปรุงและปิดบัญชี
ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์