Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมี

Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมี


Soft Skills for Accountants ทักษะสำคัญ ที่นักบัญชีควรมีดังนี้

1.การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานการณ์ พร้อมเปิดใจรับฟังความเห็นของผู้อื่นเมื่อต้องทำงานเป็นทีม

2.การสื่อสาร (Communication Skills)
เป็นทักษะสำคัญทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งในรูปแบบของการพูดคุย เจรจาต่อรอง หรือเป็นลายลักษณ์อักษร

3.การแก้ไขปัญหา (Problem Solving Skills)
นักบัญชีต้องพร้อมรับมือกับปัญหาทุกเวลา และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง เมื่อแก้ปัญหาแล้วต้องรู้วิธีรับมือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก

4.ความเป็นผู้นำ (Leadership Skills)
นักบัญชีควรมีทักษะความเป็นผู้นำติดตัวไว้ เพื่อเสริมความกล้าคิดและการนำเสนองาน และเมื่องานเกิดปัญหาก็สามารถพร้อมให้คำปรึกษาได้เสมอ

5.ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skills)
อย่าหยุดที่จะเรียนรู้และปิดกั้นไอเดียความคิดใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานที่ทำอยู่

6.แรงจูงใจ (Motivation Skills)
สิ่งสำคัญในการสร้างแรงจูงใจที่ดีในการทำงาน คือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เหมาะสม รวมถึงบรรยากาศการทำงานร่วมกันเป็นทีม

7.การปรับตัว (Flexibility and Adaptability Skills)
เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานตามแผนที่ตายตัวนั้น อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด นักบัญชีจึงต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพื่อปรับใช้ในการทำงาน

8.ความรับผิดชอบ (Responsibility Skills)
การมีความรับผิดชอบต่องานและหน้าที่ของตัวเอง ที่ได้รับมอบหมายมาอย่างเต็มที่ จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย

9.การตัดสินใจ (Decision-Making Skills)
นักบัญชีหากถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ต้องกล้าที่จะตัดสินใจ และยอมรับความเสี่ยงที่จะตามมาเมื่อตัดสินใจในเรื่องนั่นไปแล้ว

10.การบริหารเวลา (Time Management)
การจัดลำดับความสำคัญในการทำงานแต่ละวัน จะทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำเสร็จตามกำหนด แต่ก็อย่าลืมที่จะจัดสรรเวลาในการพักผ่อนด้วย


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!




ขอบคุณที่มา : เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ
 420
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใบเสร็จรับเงิน จริงๆ แล้วคือเอกสารที่ใช้ในการรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้เช่าออกใบเสร็จนี้ให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขายหรือผู้ให้เช่านั้นได้รับเงินแล้ว การออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ว่าให้ผู้รับเงิน ต้องออกใบเสร็จให้กับผู้ขายทันที เมื่อมีการรับเงิน โดยไม่เว้นแต่กรณีที่ผู้ซื้อจะขอหรือไม่ขอก็แล้วแต่ แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก อาจจะไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อทุกครั้ง แต่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้ว่าต้องออกใบเสร็จรับเงินต่อเมื่อมีการขายสินค้าที่มีจำนวนเงินเกิน 100 บาท/ต่อครั้ง
นักลงทุนควรที่ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ โดยนักลงทุนจะต้องทราบถึงความสำคัญของงบการเงิน ว่ามีความสำคัญอย่างไร เพราะข้อมูลในงบการเงินของแต่ละกิจการนั้น จะสามารถบ่งชี้ให้เราทราบถึงโอกาสในการลงทุนโดยดูจากข้อมูลภายในงบการเงินนั้นๆ งบการเงินของบริษัท ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนต้องการที่จะกล่าวถึง สาระสำคัญของงบการเงินที่นักลงทุนควรที่จะต้องพิจารณา โดยมีด้วยกันอยู่ 2 รายงาน และ 3 งบ ดังนี้
ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง
ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์