ประเด็นที่ต้องรู้ก่อนจะยื่นภาษีประจำปี

ประเด็นที่ต้องรู้ก่อนจะยื่นภาษีประจำปี

การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี

คนที่มีหน้าที่ยื่นภาษี คือ

"คนโสด" ที่มีรายได้ต่อไปนี้ เงินเดือนล้วนๆ > ปีละ 120,000 บาท รายได้อื่นๆ > ปีละ 60,000 บาท

"คนมีคู่สมรสไม่มีเงินได้" ที่มีรายได้ต่อไปนี้ เงินเดือนล้วนๆ > ปีละ 220,000 บาท รายได้อื่นๆ > ปีละ 120,000 บาท

เรื่องที่เข้าใจผิด : ขอคืนภาษี

เราจะขอคืนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อเรามีภาษีที่จ่ายล่วงหน้าไว้มากกว่าภาษีทั้งปีที่คำนวณออกมาได้ เช่น ถูกหัก ณ ที่จ่ายจากการทำงานไว้ 2000 บาท แต่พอคำนวณภาษีแล้วไม่ต้องเสียภาษี แบบนี้เราสามารถขอคืนภาษี 2000 บาทที่จ่ายเกินไปได้ ซึ่งหลักการนี้ มาจากความสัมพันธ์ของภาษี คือ ภาษีที่จ่ายเพิ่มหรือขอคืน มาจาก ภาษีประจำปี - ภาษีครึ่งปี - ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนั้น
ถ้าไม่มีการจ่ายล่วงหน้าไว้ผ่านภาษีครึ่งปีหรือถูกหักภาษีไว้ ต่อให้คำนวณแล้วไม่เสียภาษีก็ไม่สามารถขอคืนภาษีได้

สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนยื่นและเสียภาษีประจำปี คือ

1. เรามีหน้าที่ยื่นภาษีหรือเปล่า

2. วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3. ในระหว่างปีเรามีการจ่ายภาษีล่วงหน้าไว้เท่าไร

ซึ่งวิธีการคำนวณภาษีที่อยากให้เข้าใจ คือ วิธีเงินได้สุทธิ เงินได้สุทธิคืออะไร เงินได้สุทธิ = รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน ได้ออกมาเท่าไร เราก็เอามาคำนวณจากตารางอัตราภาษี เช่น ถ้าเงินได้สุทธิ = 600,000 บาท แปลว่าเราจะเสียภาษีทั้งหมดคือ 42,500 บาท เมื่อเรารู้ความสัมพันธ์เงินได้สุทธิ ว่ายิ่งมากยิ่งเสียภาษีมาก เรายิ่งต้องทำความเข้าใจ เรื่องของรายละเอียดแต่ละตัว นั่นคือ รายได้ ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน รายได้ (จริงๆเรียกว่า เงินได้) เราต้องรู้ว่าเงินได้เราทั้งปีมีเท่าไร กฎหมายยกเว้นไหม ถือเป็นเงินได้ประเภทไหนตามกฎหมาย (มีทั้งหมด 8 ประเภท) โดยปกติเงินได้ที่ได้จากการทำงาน กฎหมายไม่ยกเว้นให้หรอก แปลว่าเราต้องรู้ว่า สิ่งที่เราได้รับ ถือเป็นประเภทไหนตามกฎหมาย รู้เงินได้ แล้วจะสัมพันธ์กับค่าใช้จ่าย เพราะเงินได้แต่ละประเภทของเราที่มี มันหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไร เลือกหักแบบไหนได้บ้าง เหมาหรือตามจริง การหักค่าใช้จ่ายนี้ กฎหมายจะกำหนดเงื่อนไขมาให้ ดังนั้นต้องเข้าใจเรื่องนี้ด้วย ตัวอย่างเงินได้กับค่าใช้จ่าย เช่น รายได้เงินเดือนกับรายได้ฟรีแลนซ์เป็นประเภทที่ 1 และ 2 ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50%ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100000 บาท หรือ ขายของออนไลน์ (ซื้อมาขายไป) เป็นประเภทที่ 8 หักเหมา 60% ของเงินได้ หรือ ตามจริงก็ได้ สุดท้ายคือค่าลดหย่อน เราต้องรู้ว่าค่าลดหย่อนของเรามีอะไรบ้าง เพราะในแต่ละปีมีไม่เหมือน ดังนั้นอย่าลืมเช็คให้ดีและเตรียมเอกสารหลักฐานทั้งหมดให้พร้อม บางตัวก็ไม่ต้องเตรียมเพราะมีการส่งข้อมูลให้สรรพากรแล้ว ตัวอย่างค่าลดหย่อน เช่น ประกัน กองทุน SSF RMF ดอกเบี้ยบ้าน ฯลฯ

เตรียมข้อมูลประจำปีทั้งหมดให้พร้อม

1. รายได้มีอะไรบ้าง เป็นประเภทไหนตามกฎหมาย

2. รายได้ทั้งหมดที่เรามี หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร

3. เรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง เอามากรอก

เตรียมหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือหักภาษี (ใบ 50ทวิ) ไปจนถึงเอกสารลดหย่อนต่างๆ เวลายื่นภาษีกรอกแค่ตัวเลข
ใบ 50 ทวิ คืออะไร (หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย) เอกสารที่จะแสดงรายละเอียดให้เห็นว่า มีการหักภาษี ณ ที่ที่จ่ายเงินนำส่งให้รัฐไปก่อนเท่าไหร่ จากที่ต้องจ่ายจริงคือเท่าไหร่
เหลือเท่าไหร่

ต้องส่งเอกสารให้สรรพากรดูเมื่อ

1. เราได้คืนภาษีและขอคืน สรรพากรขอตรวจ (อัพโหลดเอกสารหลังยื่นภาษีได้เลย)

2. เราจ่ายเพิ่ม แต่สรรพากรมีข้อมูลไม่ตรงกับเรา และอยากตรวจสอบเพิ่มเติม เชิญเราไปให้ข้อมูล (เอาเอกสารไปให้ดู)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ขอบคุณข้อมูลจาก : TAXBugnoms

 388
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือยุค AEC ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาหลักและกลายเป็นวิชาบังคับในหลายสถาบันการศึกษา ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและเชื้อชาติในการทำงานร่วมกันการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างมาก
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ในช่วง Covid-19 อย่างงี้ อยู่บ้านปลอดภัยที่สุด กรมสรรพากรแนะนำให้ผู้ประกอบการและประชาชนทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน “TAX from Home”  ง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง ป้องกัน การแพร่ระบาดของ COVID – 19 และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ชำระภาษีออนไลน์จากธนาคารที่ร่วมโครงการอีกด้วย
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
ใบเสนอราคา หรือ quotation คือเอกสารสำคัญสำหรับนักขาย และเจ้าเอกสารตัวนี้เองก็น่าจะเป็นอะไรที่นักขายทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่การปิดดีลการขายเลยก็คงไม่เกินจริงไปนัก อย่างไรก็ตามนักขายจำนวนมากแม้จะรู้ว่าเจ้าใบเสนอราคานั้นหน้าตาเป็นอย่างไร แต่เมื่อต้องทำเองหลายต่อหลายครั้งหากบริษัทไม่ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้ นักขายเองก็มักจะออกใบเสนอราคาโดยไม่มี standard ที่ตายตัว นอกจากนี้ตัวนักขายเองก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจกับเจ้าใบนี้เท่าที่ควรด้วย
“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์