ภาษีอะไรบ้างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การนำเข้า-ส่งออกสินค้า

ภาษีอะไรบ้างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การนำเข้า-ส่งออกสินค้า

ในปัจจุบันการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน เพิ่มการจ้างงาน และส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงช่วยให้สร้างโอกาสขยายตลาด และเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด ดังนั้น การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

และแน่นอนว่า นำเข้า-ส่งออกสินค้า คงหนีไม่พ้นกับเรื่องของภาษีแน่นอน ก่อนที่จะมาดูว่ามีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง เรามาดูความหมายของ การนำเข้า การส่งออก ภาษีนำเข้า (Import Duty) และ ภาษีส่งออก (Export Duty) เบื้องต้นกัน

"นำเข้า” หมายถึง กระบวนการที่นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผ่านพิธีการทางศุลกากร 

“ส่งออก” จะหมายถึง การส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ โดยผ่านพิธีการทางศุลกากร

“ภาษีนำเข้า (Import Duty)” เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ อัตราภาษีนี้จะแตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้า และนโยบายของรัฐบาลแต่ละประเทศ มักใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจากการแข่งขันกับสินค้านำเข้า เพิ่มรายได้ และควบคุมการนำเข้าสินค้า การปฏิบัติตามกฎหมายภาษีนำเข้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่ามีการดำเนินการอย่างถูกต้องและโปร่งใส

“ภาษีส่งออก (Export Duty)” เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ แม้ว่าภาษีนี้จะพบไม่บ่อยเท่าภาษีนำเข้า แต่บางประเทศอาจใช้เพื่อควบคุมปริมาณการส่งออกสินค้าบางประเภท หรือเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยการเรียกเก็บภาษีส่งออกนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับนโยบายเศรษฐกิจและสภาพการค้าระหว่างประเทศในขณะนั้น นอกจากนี้ สินค้าบางประเภทอาจถูกยกเว้นภาษีส่งออก หรืออาจมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า

 

การนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องเจอภาษีอะไรบ้าง

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้นำเข้าและผู้ส่งออกภาษีในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า มีดังนี้

กรณีของการนำเข้าสินค้า

ผู้นำเข้าสินค้าต้องเจอกับภาษี คือ

  1. อากรขาเข้า อากรขาเข้าจะถูกเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด
  2. ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าหรือบริการบางประเภท ซึ่งมักเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ เครื่องดื่ม น้ำหอม สุรา ยาสูบ ไพ่ เป็นต้น
  3. ภาษีเพื่อมหาดไทย เป็นภาษีที่จัดเก็บขึ้นเพื่อสนับสนุนงบประมาณและการบริหารงานของหน่วยงานท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล และจังหวัด
  4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผู้นำเข้าจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อนำเข้าสินค้าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (เมื่อผู้นำเข้าเสียอากรขาเข้า ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ) แต่อย่างไรก็ตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียไปนั้น สามารถนำมาขอคืนเป็นภาษีซื้อได้ภายใน 6 เดือน แต่อากรขาเข้านั้นขอคืนไม่ได้

กรณีของการส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้านั้น จะมีภาษีที่เกี่ยวข้อง คือ

  1. อากรขาเข้า กรมศุลกากรได้กำหนดอัตราอากรสำหรับสินค้าประเภท หนังโค หรือหนังกระบือ และสินค้าที่ส่งออกจากพื้นที่พัฒนาร่วมตามกฎหมายองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย (อ้างอิง: ประกาศกรมศุลกากร ที่ ๑๐๓ /2561) ที่ยังคงต้องเสียอากรขาออก
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออกสินค้าและบริการมักจะได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือได้รับการจัดเก็บในอัตรา 0% (ผู้ส่งออกสินค้าเป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีและยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (สามารถยื่นได้ถึงวันที่ 23 หากยื่นแบบออนไลน์)

 

สรุป

ในการจัดการภาษีที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจนำเข้า - ส่งออกนั้น นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทภาษี การคำนวณภาษี อัตราภาษี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ การเตรียมเอกสารในการยื่นแบบ และการชำระภาษีต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด เพื่อให้สามารถวางแผนในการทำธุรกิจ ควบคุมต้นทุน และสร้างกำไร เพื่อให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาวได้ 

โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed มีฟังก์ชันที่ช่วยเหลือในส่วนของระบบจัดเอกสาร รองรับรายรับรายจ่าย ในรูปแบบของระบบอัตราแลกเปลี่ยน วิเคราะห์กำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และ การ Revalues เอกสารเจ้าหนี้ ลูกหนี้ค้างชำระ ณ ตอนสิ้นงวดบัญชีได้อัตโนมัติ ด้วยระบบ Multi Currency สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระบบสกุลเงินต่างประเทศ Multi Currency


ระบบสกุลเงินต่างประเทศ Multi Currency


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : flowaccount.com


 438
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสลักหลังเช็ค เราสามารถทำได้กี่แบบ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
นักลงทุนควรที่ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ โดยนักลงทุนจะต้องทราบถึงความสำคัญของงบการเงิน ว่ามีความสำคัญอย่างไร เพราะข้อมูลในงบการเงินของแต่ละกิจการนั้น จะสามารถบ่งชี้ให้เราทราบถึงโอกาสในการลงทุนโดยดูจากข้อมูลภายในงบการเงินนั้นๆ งบการเงินของบริษัท ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนต้องการที่จะกล่าวถึง สาระสำคัญของงบการเงินที่นักลงทุนควรที่จะต้องพิจารณา โดยมีด้วยกันอยู่ 2 รายงาน และ 3 งบ ดังนี้
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ
กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์