ภาษีมูลค่าเพิ่มมีความสำคัญอย่างไร กับ SMEs ทำไมถึงต้องทำ ?

ภาษีมูลค่าเพิ่มมีความสำคัญอย่างไร กับ SMEs ทำไมถึงต้องทำ ?

ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs การที่จะประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และก็ไม่ใช่เรื่องยาก วันนี้มีเรื่องของการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT มาให้ทำความเข้าใจกัน ว่าทำไมธุรกิจของท่านนั้นถึงต้องจัดการให้เข้าสู่ระบบภาษี ต้องเตรียมเอกสารเยอะแค่ไหน ดูเป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวแห่งการเติบโตในธุรกิจที่จะขึ้นในภายภาคหน้า สำหรับท่านที่ยังไม่เข้าใจ “ภาษี” แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ตราบใดที่ทำตามขั้นตอนก็สบายมากๆ



ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร

ภาษีประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากผู้ใช้สินค้าหรือบริการโดยใช้ราคาสินค้าหรือบริการนั้นเป็นฐานการคิดภาษี ซึ่งจะทำให้ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีตามมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากแต่ละขั้นตอน ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 สำหรับสินค้าและบริการที่ถูกใช้ภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น เราซื้อสินค้าราคา 100 บาท มี VAT อีก 7 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 107 บาทที่ผู้บริโภคจะต้องชำระ

ต้องเริ่มจดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อไหร่

• ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ รายรับเกิน

• หากผู้ประกอบการนั้นมีรายรับจากการให้บริการ หรือ ขายสินค้า เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

ธุรกิจอยู่ในรายการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?

หากมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในบางธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การขายสินค้าทางการเกษตร ผลไม้ ผัก การขายเนื้อสัตว์ต่างๆ การขายอาหารสัตว์ ขายปุ๋ย การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล สลากบำรุงสภากาชาดไทย การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ และ อื่นๆ อีกมากมายสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ (https://www.rd.go.th/5206.html)

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดที่ไหนอย่างไร

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องใช้แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสามารถยื่นแบบได้ผ่าน 2 ช่องทาง คือ

• ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ

• ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th

ทำไม SMEs ควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ?

• สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจมากขึ้น

สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจมากขึ้น ลูกค้าได้รับความมั่นใจจากการได้รับการตรวจสอบจากสรรพากรเรียบร้อยแล้วว่าการดำเนินการธุรกิจจริงๆ เป็นการสร้างเครดิตให้กับธุรกิจอีกช่องทางหนึ่ง

• ลูกค้าต้องการใบกำกับภาษีในการซื้อสินค้า

ในบางครั้งผู้ประกอบการทำธุรกิจกับคู่ค้ารายใหญ่แน่นอนว่าส่วนมาก ต้องอยากให้ธุรกิจของเรามีการจด VAT ด้วยเช่นกัน
เพราะคู่ค้าก็ต้องการลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายของธุรกิจของเขาเช่นกัน

• VAT สามารถขอคืนได้

หากธุรกิจของผู้ประกอบการมีการซื้อวัตถุดิบ หรือสินค้าต่างๆ ที่มีการค่าใช้จ่ายที่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม และเรียกเก็บเงินในส่วนนั้นจากผู้ประกอบการ ก็ควรจะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยเช่นกัน สิ่งนี้ก็จะลดต้นทุนในด้านวัตถุดิบถึง 7 % ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ขายเรียกเก็บได้

ข้อควรทราบ สำหรับ ‘ภาษีซื้อต้องห้าม’

กฎหมายไม่อนุญาตให้นำภาษีซื้อบางรายการมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษี คือ

1. ภาษีซื้อที่ไม่มีหลักฐานใบกำกับภาษี

2. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ

3. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง

4. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี

5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีปลอม

6. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการขนส่งสินค้า สถานพยาบาล

หากไม่จด VAT จะเกิดอะไรขึ้น ?

กรณีที่ธุรกิจ มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ยังไม่อยากจด จะมีผลดังนี้

1. ไม่สามารถออกใบกำกับภาษีได้เนื่องจากยังไม่ได้เป็นผู้ประกอบการที่จด VAT

2. ไม่สามารถเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้

3. ต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตลอด หรือเป็นเงิน 1,000 บาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างไหนจะมากกว่ากัน

4. ต้นทุนสินค้าเพิ่ม เพราะไม่สามารถนำภาษีซื้อไปหักภาษีขายได้

เรื่อง VAT เรื่องใกล้ตัวสำหรับเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการดูแล้วไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป หากท่านมีข้อสงสัยตรงไหนสามารถปรึกษาได้ที่ https://www.rd.go.th/

Cr : https://wdev.smebank.co.th/
 229
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
ในปัจจุบันสายงานตรวจสอบบัญชีได้รับความนิยมจากผู้ที่จบการศึกษาด้านการบัญชีและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระบุว่าให้งบการเงินของทุกบริษัทจะต้องผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีหรือ Certified Public Accountant (CPA)
ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์