ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด

ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด


ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด มีข้อแตกต่างกันดังนี้


1. การก่อตั้ง

  - นิติบุคคลอาคารชุด : กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย     
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด : กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
 
2. วัตถุประสงค์

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  กิจกรรมเพื่อดูแลทรัพย์ส่วนกลาง ไม่มุ่งค้าหากำไร 
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  กิจกรรมการค้าเพื่อมุ่งค้าหากำไร 
 
3. ผู้ก่อตั้ง

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  เมื่อมีเจ้าของร่วมมากกว่า 1 รายในอาคารชุด
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ผู้ก่อการ 7 ท่าน
 
4. ผู้เป็นเจ้าของ

   - นิติบุคคลอาคารชุด :  เจ้าของร่วมทั้งหมด ในอาคารชุด 
   - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ 

5. ผู้มีอำนาจผูกพันธ์

   - นิติบุคคลอาคารชุด : ผู้จัดการนิติบุคคล (เลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่)
   
- นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด : กรรมการผู้จัดการ หรือ กรรมการ ที่บริษัทฯ กำหนด
 
6. ผู้บริหาร

   - นิติบุคคลอาคารชุด :  กรรมการอาคารชุด (เลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่)
- นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  กรรมการบริษัทฯ
 
7. ด้านภาษี

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ ไม่ต้องยื่นภาษีประจำปี 
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ต้องยื่นภาษีประจำปี 

8. ด้านบัญชี /การเงิน

  - นิติบุคคลอาคารชุด : รับรองงบดุล/ บัญชี โดยที่ประชุมใหญ่ ไม่ต้องส่งงบดุลให้กับหน่วยงานภาครัฐ 
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด : ตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบรับอนุญาติ ส่งงบดุลให้กับหน่วยงานภาครัฐ 

9. การบริหารการเงิน

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  ตามนโยบายคณะกรรมการ และข้อบังคับ
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ตามนโยบายของผู้บริหาร
 
10. กฎหมายหลักที่บังคับใช้

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2551  (ฉบับที่4 )  
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : www.thaicondoonline.com
ประกาศบทความโดย : http://www.prosmes.com
 994
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"
เจ้าของธุรกิจทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มักนิยมทำการตลาดผ่านโซเชียล เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและรวดเร็ว แต่เจ้าของธุรกิจอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายจ่ายตรงนี้มากเท่าไหร่
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2567 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์