ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชี

ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชี



ข้อมูลทางการบัญชีสื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมอง เห็นถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในอดีต ปัจจุบันและพยากรณ์ในอนาคตได้ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการบัญชีแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้


1.  กลุ่มผู้ใช้ภายในองค์กร

             1.1  เจ้าของกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น และกลุ่มผู้บริหาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางการบัญชีมากที่สุด เพื่อวัตถุประสงค์ในการวางแผน ตัดสินใจ การกำหนดนโยบายต่างๆ ในการบริหารธุรกิจ เช่น การวางแผนทางการเงิน การวางแผนทางบุคลากร การวางแผนเกี่ยวกับการขาย การกำหนดราคาสินค้า การควบคุมสินทรัพย์ รวมถึงการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย เป็นต้น
             1.2  ลูกจ้างหรือพนักงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายค่าตอบแทน สวัสดิการบำเหน็จบำนาญและความมั่นคงในอนาคต

2.  กลุ่มผู้ใช้ภายนอกองค์กร

             2.1  นักลงทุน หมายถึง กลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจ เพื่อหาประโยชน์หรือผลตอบแทน โดยก่อนการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจใดก็ตามนักลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลทางการบัญชีเพื่อพิจารณาถึงฐานะทางการเงินซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของธุรกิจ และความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจนั้นเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าเงินลงทุนจะไม่สูญเปล่าและจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า

             2.2  ผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้ เพราะแหล่งเงินทุนที่สำคัญของธุรกิจคือ การกู้ยืมไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ในการอนุมัติการกู้ยืมผู้ให้กู้จะต้องพิจารณาความเชื่อถือได้และความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ นอกจากนั้นเจ้าหนี้การค้าถึงแม้จะเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นยังต้องใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการพิจารณาความสามารถในการขายและการเก็บหนี้ซึ่งล้วนใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น

             2.3  หน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น หน่วยงานของรัฐสนใจข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการจัดสรรทรัพยากร การจัดเก็บภาษี การควบคุมทางด้านการจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี การส่งเสริมการลงทุน การกำกับดูแลและควบคุมการประกอบการของธุรกิจ นอกจากนั้นข้อมูลทางการบัญชีจากงบการเงินของธุรกิจโดยรวม จะช่วยให้หน่วยงานของรัฐนำไปวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของทั้งประเทศ ใช้เป็นข้อมูลในการพยากรณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศและประโยชน์ในการกำหนดนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล

             2.4  บุคคลทั่วไป ซึ่งหมายถึงประชาชนผู้ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งอาจเป็นผู้ลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผู้สนใจจะลงทุนในอนาคต บุคคลเหล่านี้ย่อมต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน เพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะลงทุนซื้อหุ้น หรือลงทุนตั้งกิจการในรูปแบบต่างๆข้อมูลที่ปรากฏในรายงานทางการเงินของกิจการจะช่วยให้บุคคลผู้สนใจเหล่านั้นสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนในกิจการที่ได้พิจารณาแล้วว่าสามารถจะให้ผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

บทความโดย : lumyai.krutechnic
 992
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง
การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
ในยุคที่กรมสรรพากร ได้มีการบริหารภายใต้นโยบายปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกกระบวนงาน หรือที่เรียกว่า “RD Digital Government – Data Analytics” และนำมาสู่แนวคิดเรื่อง “บัญชีเดียว” ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้มีการกล่าวถึง “นักบัญชีภาษีอากร” ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์