การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual

การบัญชีในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อทุกๆกิจการ การทำงานของบัญชีก็มีหลายส่วนงานด้วยกัน ซึ่งส่วนงานที่สำคัญของบัญชีก็คือการออกงบการเงิน ในงบการเงินประกอบด้วย 5 งบที่สำคัญคือ

1.
งบแสดงฐานะการเงิน 
2.
งบกำไรขาดทุน 
3.งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ
4.
งบกระแสเงินสด 
5.หมายเหตุประกอบงบการเงิน ในหลายส่วนงานของกิจการสามารถนำงบการเงินไปใช้ได้ เช่น ฝ่ายบริหารใช้ในการบริหารงาน ฝ่ายการเงินใช้ดูสภาพคล่องของกิจการ และสิ่งที่สำคัญของบัญชีคือการใช้รูปแบบการบันทึกบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการ ซึ่งในบทความนี้จะมาพูดถึงเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual มาดูกันเลยนะคะว่ามีรูปแบบการบันทึกบัญชียังไงบ้าง

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System : พีริออดิก อินเวนทอรี ซิสเทิม)

วิธีนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชี "สินค้าคงเหลือ" ในระหว่างงวด ดังนั้นยอดคงเหลือบัญชีสินค้าคงเหลือจะเป็นยอด ณ วันต้นงวด และจะไม่บันทึกต้นทุนขายในทุกครั้งที่ขาย วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดนี้ จะต้องทำการตรวจนับและตีราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ต้องการทราบยอดคงเหลือ และถ้าต้องการทราบต้นทุนขายต้องทำการคำนวณ วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีสินค้าในปริมาณมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ข้อดีของวิธีนี้คือ การบันทึกบัญชีทำได้ง่ายและประหยัดเวลา ข้อเสียคือ ไม่สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ทันทีที่ต้องการ

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System : เพอเพชชวล อินเวนทอรี ซิสเทิม)

        วิธีนี้จะมีบัญชี "สินค้าคงเหลือ" ไว้เพื่อบันทึกความเคลื่อนไหวของสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดการดำเนินงาน โดยใช้บันทึกมูลค่าของสินค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย ส่งคืนและรับคืน ดังนั้นจึงทำให้ทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ขายสินค้าราคาแพงหรือสินค้าจำนวนไม่มาก ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำให้ทรายยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา ข้อเสียคือ ต้องบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้า ทำให้มีการบันทึกบัญชีค่อนข้างมาก

เปรียบเทียบการบันทึกบัญชี

periodic-and-perpetual

ดังนั้นการใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละกิจการ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการบันทึกบัญชี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : http://www.mindphp.com

 3814
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัวเลขหรือรหัสที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ผังบัญชีขององค์กร ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการและควบคุมทางบัญชี โดยรหัสบัญชีนี้จะถูกนำมาใช้ในกระบวนการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกว่า ระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger) เพื่อให้การบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเป็นระเบียบช่วยให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้อย่างเป็นระบบ และสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อย่างถูกต้อง
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร อยากเครดิตภาษีต้องทำอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครดิตภาษีหรือไม่ เราลองมาไขปัญหาคาใจ เหล่านี้กัน
ในอดีตที่ผ่านมาความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังมีไม่มาก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมายและเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์การต่าง ๆ
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์