สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีหน้าที่ทำอะไรให้บ้าง

สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีหน้าที่ทำอะไรให้บ้าง

หน้าที่ของสำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี ที่รับจ้างทำบัญชี คืออะไร?

จ้างทำบัญชีคือทำอะไร?  บริการรับทำบัญชีควรต้องทำอะไรให้บ้าง? เป็นคำถามที่เจ้าของกิจการ / ผู้ประกอบการ หลายท่านสงสัย

วันนี้เราจะมาดูกันว่า บริการรับทำบัญชี คือทำอะไร....สำนักงานบัญชี / บริษัททำบัญชี ที่รับทำบัญชีนั้น มีหน้าที่ต้องทำงานอะไรให้บ้าง

บริการรับทำบัญชี ประกอบด้วยบริการดังต่อไปนี้

  1. สิ่งที่ต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ
    • ยื่นแบบภาษีและประกันสังคมรายเดือน
    • ทำบัญชีและปิดงบการเงินประจำปี
    • ยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี
  2. สิ่งที่กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธุรกิจ
    • งานบัญชีบริหาร
    • งานให้คำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีอากร

1. สิ่งที่ต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ

1.1 ยื่นแบบภาษีและประกันสังคมรายเดือน

  • ยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
    • ภ.ง.ด.1    หากมีการจ่ายเงินให้พนักงาน
    • ภ.ง.ด.3   หากมีการจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา
    • ภ.ง.ด.53  หากมีการจ่ายเงินให้นิติบุคคล
    • ภ.ง.ด.54  หากมีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
  • ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ยื่นประกันสังคม
    • นำส่งเงินสมทบประกันสังคมรายเดือน
    • แจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่
    • แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนหากลูกค้าลาออก

1.2 ทำบัญชีและปิดงบการเงินประจำปี

  • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี เป็นต้น
  • จัดทำบัญชีรายวัน 5 เล่มตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บัญชีเงินสด, บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร, บัญชีรายวันซื้อ, บัญชีรายวันขาย และบัญชีรายวันทั่วไป
  • จัดทำบัญชีแยกประเภทต่างๆ เช่น บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ เป็นต้น
  • จัดทำบัญชีสินค้า
  • จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
  • ปิดบัญชีประจำปี จัดทำข้อมูลประกอบการปิดงบการเงิน เช่น สรุปรายการคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด, การกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และบัญชีต่างๆ เป็นต้น
  • จัดทำงบการเงินประจำปี ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน, งบกำไรขาดทุน, งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น, และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล
  • ให้ข้อมูลและตอบคำถามผู้สอบบัญชี ในการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน   

1.3 ยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี

2. สิ่งที่กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธุรกิจ

ข้อด้านล่างนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่กิจการอาจเลือกจ้างสำนักงานบัญชีให้ทำงานเหล่านี้ให้ด้วยได้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของกิจการ

2.1 งานบัญชีบริหาร

  • ปิดงบและรายงานผลการดำเนินงาน รายเดือน หรือ รายไตรมาส (ความถี่แล้วแต่ตกลง) แก่ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ
  • วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขผลประกอบการ  เพื่อให้สามารถนำตัวเลขมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ได้อย่างทันท่วงที   

2.2 งานให้คำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีอากร  

  • วางระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน เช่น กำหนดรูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กำหนดขั้นตอนระบบการทำงานและผังวงจรเอกสารภายใน เป็นต้น
  • การวางแผนภาษีทั้งภาษีนิติบุคคล และอาจครอบคลุมไปถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของ

หากสำนักงานบัญชีและนักบัญชีกำลังมองหาโปรแกรมบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs เราขอแนะนำโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ที่ตอบโจทย์การใช้งาน และนักบัญชียอมรับพร้อมรองรับการใช้งานสำหรับสำนักงานบัญชีได้ทุกอย่าง อีกทั้งยังคุ้มค่ากับการลงทุน และช่วยประหยัดเวลาในการทำบัญชีให้ง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีแบบครบวงจร

ลงทะเบียน Demo โปรแกรมบัญชีสำหรับสำนักงานบัญชีและนักบัญชี
ที่มา : https://accountingcenter.co
 8332
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำบัญชี จะทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงานฐานะทางการเงินของธุรกิจและความมั่นคงของธุรกิจโดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้นจะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุนรายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้นโดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วยเมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้นจะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 
โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์