ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

ประมาณการหนี้สินและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น


ความรู้เกี่ยวกับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นได้ในทางบัญชี

เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหน้า หมายถึงสภาพหรือสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างอันอาจจะมีผลทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนแก่กิจการ ซึ่งผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในอนาคตว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่

หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) หมายถึงหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากการดำเนินเงานที่ผ่านมาหรือเหตุกาณณ์อื่นหรือเงื่อนไขซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหรืออาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ หนี้สินนี้ไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนเงินของหนี้ว่าจะคำนวณได้แน่นอนหรือไม่ จำนวนของหนี้อาจจะคำนวณได้ถูกต้อง แต่ก็ยังจัดเป็นหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่นการค้ำประกันหนี้เป็นต้น.

ความหมายของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ลักษณะของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

ณ วันที่ในงบการเงินงวดใดงวดหนึ่งของกิจการ ฝ่ายจัดการอาจพบว่ามีสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างที่อาจก่อให้เกิดกำไรหรือขาดทุนในอนาคตต่อกิจการ ในกรณีที่ความไม่แน่นอนของเหตุกาณณ์นั้นยังคงอยู่จนถึงวันที่กิจการออกงบการเงิน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้จะจัดเป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า (Contingencies) แต่ถ้าความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ดังกล่าวได้คลี่คลาย และสามารถประมาณผลของเหตุการณ์นั้นได้อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์นั้นจะจัดเป็นเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน (Events After The Balance Sheet Date)

ฝ่ายจัดการมีหน้าที่ในการพิจารณาว่าเหตุการณ์ในภายหน้าจะทำให้เกิดผลประการใดต่อกิจการ และควรจะประมาณผลกระทบทางด้านการเงินด้วย โดยฝ่ายจัดการต้องพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่ ณ วันที่ในงบดุลจนถึงวันที่ผู้บริหารอนุมัติให้ออกงบการเงินได้ โดยต้องอาศัยการติดตามเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ในงบดุลประกอบกับประสบการณ์เกี่ยวกับรายการต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และในบางกรณีอาจต้องอาศัยรายงานจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกอีกด้วย เนื่องจากว่าหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ก็จัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นสามารถกล่าวสรุปได้ว่ามีลักษณะทั่วไป 2 ประการดังนี้คือ

  1. เป็นหนี้สินประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบันเป็นมูลฐาน กล่าวคือเป็นหนี้สินที่อาจจะเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตก็ได้ แต่มีโอกาสของความเป็นไปได้ที่จะเกิด
  2. เป็นหนี้สินประเภทที่อาจจะกำหนดจำนวนหนี้ได้หรือไม่ได้ กล่าวคือหนี้สินที่อาจจะเกิดบางครั้งก็สามารถกำหนดมูลค่ของจำนวนหนี้ที่แน่นอนได้ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถกำหนดมูลค่าที่แน่นอนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์

ลักษณะของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า อาจแบ่งประเภทได้ 2 ลักษณะตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อกิจการ

  1. ผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า (Gain Contingencies) กิจการจะไม่บันทึกบัญชีผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นภายในหน้า เนื่องจากอาจทำให้มีการรับรู้รายได้ที่ไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามถ้ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าผลกำไรจะเกิดขึ้น กำไรดังกล่าวก็จะไม่เข้าลักษณะที่อาจเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น กิจการก็จะต้องบันทึกบัญชีผลกำไรนั้นด้วย
  2. ผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า (Loss Contingencies) วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า กิจการควรบันทึกผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าไว้เป็นผลขาดทุนในบัญชีนั้น เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อดังนี้
  • มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าผลเสียหายจะเกิดขึ้นในอนาคต และจะมีผลทำให้สินทรัพย์ ณ วันที่ในงบดุลมีค่าลดลง หรือหนี้สินมีจำนวนมากขึ้น ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงส่วนที่อาจเรียกชดใช้คืนด้วย
  • สามารถประมาณจำนวนเงินได้อย่างสมเหตุสมผล

ในกรณีที่ผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าไม่เข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อข้างต้น ให้กิจการเปิดเผยข้อมูลไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน (แต่ถ้าโอกาสที่เกิดการขาดทุนมีน้อยมากกิจการก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลก็ได้)

หลักเกณฑ์ในการกำหนดจำนวนเงินของผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ในการกำหนดจำนวนเงินของผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าเพื่อนำมาบันทึกบัญชีนั้น กิจการต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่จนถึงวันที่ออกงบการเงิน ซึ่งได้แก่เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลที่ชี้ให้เห็นว่ามีการสูญเสียสินทรัพย์ หรือมีหนี้สินเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากสภาพการณ์ที่ไม่แน่นอนก่อนวันที่ในงบดุล
  2. ในกรณีที่มีผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าหลายเหตุการณ์ และสภาพการณ์ของแต่ละเหตุการณ์ต่างกัน ให้พิจารณากำหนดผลเสียหายของแต่ละเหตุการณ์แยกจากกัน
  3. กรณีที่ผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าหลายเหตุการณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกิจการอาจกำหนดผลเสียหายรวมเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องพิจารณาแยกแต่ละรายก็ได้

ตัวอย่างของผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าเช่น ?

– ความเสี่ยงทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นทางธุรกิจ
– ความไม่แน่นอนจากการเก็บเงินจากลูกหนี้
– ภาระผูกพันจากการประกันคุณภาพสินค้า
– ความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายในสินทรัพย์เนื่องจากอัคคีภัย หรือภัยอื่นๆ
– ความเสี่ยงจากการเวนคืนสินทรัพย์
– การถูกฟ้องร้องคดี การถูกเรียกร้องค่าเสียหาย หรือถูกประเมินภาษีที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ทราบผล
– การค้ำประกันหนี้สินของผู้อื่น
– ข้อผูกพันที่อาจต้องซื้อสินทรัพย์ที่ขายไปกลับคืนมา

ตัวอย่างของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น คืออะไร ?

ตัวอย่างของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นที่สามารถกำหนดมูลค่าจำนวนหนี้ที่แน่นอนได้ เช่น การสลักหลังโอนตั๋ว การค้ำประกันหนี้ การถูกฟ้องร้องและเป็นคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา การประเมินภาษีย้อนหลังและถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่ม การรับประกันคุณภาพสินค้าที่ออกสู่ตลาดใหม่


ขอบคุณบทความจาก : รับทำบัญชี

 1007
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้ กรมสรรพากรจะตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป อาจจะเป็นเรื่องใหญ่แน่
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ค่าใช้จ่าย (Expenses) เป็นคำที่ใช้ในด้านการเงินและการจัดการธุรกิจ หมายถึง ทรัพยากรทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ถูกใช้ไปเพื่อการดำเนินให้ได้มาซึ่งการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการให้เป็นไปอย่างราบรื่น ค่าใช้จ่ายมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการทางการเงิน เนื่องจากช่วยสะท้อนถึงการใช้ทรัพยากรและแสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ในอดีตที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังไม่มากนัก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมาย และเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...
เทศกาลปีใหม่ที่ผ่านไปนั้น เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บริษัทห้างร้านหลายแห่ง และถือเป็นส่วนใหญ่ที่ต่างก็มีการจัดงานสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่พนักงานลูกจ้าง มีทั้งการจัดเลี้ยงอาหาร และจับรางวัล แจกของขวัญซึ่งก็เป็นปกติทั่วไปที่ต้องมีคนโชคดีมากที่ได้รับรางวัลใหญ่และก็ต้องมีคนโชคดีน้อยที่ก็จะได้รับรางวัลน้อยกลับบ้านต่าง ๆ กันไป ในที่นี้มีประเด็นที่เป็นสาระสำคัญมากล่าวถึงกับในเรื่องของการแจกของขวัญให้แก่พนักงานลูกจ้างว่า สำหรับการจัดงานปีใหม่ให้แก่พนักงาน ในกรณีที่นายจ้างได้เขียนระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานระบุไว้แล้วนั้นจะมีประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการบันทึกบัญชีให้สามารถนำส่งภาษีได้ถูกต้องและครบถ้วนต่อไป ดังนี้
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์