บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร

บุคลิกของนักบัญชีที่หลายๆ คนมองเป็นอย่างไร


หากได้ยินคำว่า “บัญชี” หลายๆคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของการทำงานที่เกี่ยวกับบัญชี มักจะเข้าใจว่าเป็นเพียงการทำงานที่เกี่ยวกับเงินและตัวเลข แต่หากได้สัมผัสและรู้ถึงความจริงของนักบัญชี จะเข้าใจได้ว่า นักบัญชีนั้นเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีความสามารถด้านการคิดคำนวณ ไปพร้อมๆกับการวิเคราะห์ในสถานการณ์ต่างๆ ของภาคธุรกิจ เพื่อบันทึกรายการนั้นๆได้อย่างถูกต้อง

ฉะนั้น ทักษะการคำนวณนั้นจึงเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่ง ของความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพนี้เท่านั้น แต่ความรู้ในด้านการคิดวิเคราะห์ต่างหากที่เป็นจุดเด่น เป็นความรู้ความสามารถที่ควรมีในตัวนักบัญชี 

รวมถึงนักบัญชีจะต้องมีความรู้และไม่หยุดที่จะเรียนรู้รวมถึงการพัฒนาตัวเอง เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ฉะนั้น เรามาดูกันว่า ตัวตนหรือบุคคลิกของนักบัญชี จะมีอะไรบ้าง 

1. จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ
เนื่องจากนักบัญชีจะเป็นด่านแรกที่ได้รับข้อมูล และ ด่านสุดท้ายที่จะรายงานข้อมูลสู่สาธารณชน ฉะนั้นข้อมูลต่างๆที่เผยแพร่ออกไป จะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ จึงส่งผลให้หลายๆ คนที่ทำอาชีพนี้มีบุคคลิกที่เป็นคนละเอียด หรือ หากบุคคลภายนอกได้ร่วมงานด้วยก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นักบัญชีเรื่องมากบ้าง จุกจิกบ้าง ด้วยเพราะงานบัญชีเกี่ยวข้องกับเอกสารเป็นจำนวนมาก

2. เป็นนักวางแผน
เนื่องจากต้องมีกระบวนการรายงานข้อมูลต่างๆ ให้เป็นไปตามกำหนดเวลา เช่น งบการเงิน ที่จะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร หรือตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น 

3. เป็นคนขยัน อดทน
ที่จะต้องรับมือเป็นฝ่ายสุดท้าย ก่อนส่งงานออกให้ทันเวลากำหนดมุ่งมั่นที่จะทำงานนั้นๆให้สำเร็จ ลุล่วง ด้วยดี ในทุกๆ งาน

4. ความซื่อสัตย์
นักบัญชีทำงานภายใต้จรรยาบรรณของวิชาชีพ ฉะนั้น การรายงานต่างๆ จึงต้องเป็นไปด้วยความถูกต้อง แม่นยำและเป็นความจริงเสมอ

5. น้ำไม่เต็มแก้ว
เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน มีการออกประกาศฉบับใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ

6. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
แยกแยะประเด็นต่างๆ และนำความรู้ภาคทฤษฎีมาปรับใช้ในภาคธุรกิจ

7. บุคคลิก เรียบร้อย ดูดี มีภูมิฐาน
เนื่องจาก งานในวิชาชีพนี้ ส่วนใหญ่ต้องทำงานในบริษัท และอยู่ในกฎเกณฑ์มีระเบียบ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อถือ ต่อกลุ่มลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้อง

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่านักบัญชีของแต่ละองค์กรนั้น เป็นผู้ที่ช่วยสนับสนุนงานของทุกๆฝ่าย และทำหน้าที่จัดทำงบการเงินและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี เพื่อให้รายงานงบการเงิน ออกมาสู่สาธารณชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินอย่างที่สุด

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

บทความโดย : คุณกชพร สุวรรณตัด บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

 757
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์