วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง

วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง


นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ

1. ช่วยรายงาน

การวิเคราะห์งบการเงินช่วยรายงานผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ว่ามีความสามารถในการทำกำไรยังไงบ้าง ซึ่งอัตราส่วนที่ได้จากการวิเคราะห์งบจะใช้เปรียบเทียบกับคู่แข่งธุรกิจได้สบายๆ   ตัวอย่างอัตราส่วนที่นิยมใช้ เช่น
ความสามารถในการทำกำไร  อัตรากำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / ยอดขาย x 100 (%) ผลที่ออกมายิ่งมีค่าสูงยิ่งดี
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย x 100 (%) ผลที่ออกมายิ่งมีค่าสูงยิ่งดี

2. ช่วยแจ้งเตือน

อัตราส่วนที่เราคำนวณจากการวิเคราะห์งบ ช่วยบ่งบอกสัญญาณอันตรายอย่างเช่นการขาดสภาพคล่องได้ก่อนที่จะเจ๊งโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
มีค่า > 1 เท่ากับ สภาพคล่องดี
มีค่า < 1 เท่ากับ ขาดสภาพคล่อง

และถ้าเป็นแบบนี้นักบัญชีต้องรีบแจ้งเจ้าของธุรกิจทันทีเลย

3. ช่วยพยากรณ์
การวิเคราะห์งบดีๆ เผลอๆ อาจช่วยพยากรณ์ธุรกิจหรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร เช่น กำไรปีนี้ ลดลง จากปีที่แล้ว จาก 2 ล้านบาท เป็น 1 ล้านบาท เนื่องจากมีต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับยอดขายที่เท่าเดิม ปกติหากเรามข้อมูลย้อนหลังก็ควรเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ทุกปี เพื่อนำไปพยากรณ์ทิศทางและบริหาร ถ้าหากครึ่งปีแรก มีค่าใช้จ่ายใดสูงไป ก็สามารถรัดเข็มขัดค่าใช้จ่ายนั้น ในครึ่งปีหลังได้ หรือ รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายในปีนี้ ก็ต้องปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ เพื่อกระตุ้นยอดขายในปีหน้า หรืออาจจะกลับไปใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเดิมเหมือนในปีที่ทำรายได้ได้สูงๆ

4. ช่วยวางแผน

ช่วยวางแผนภาษี แนวโน้มที่จะเสียภาษี เช่น

  • มีกำไรขั้นต้นไหม Gross Profit = รายได้ – ต้นทุนขาย ถ้ากำไรขั้นต้นติดลบ ก็เป็นสัญญานว่าเราอาจถูกสรรพากรแพ่งเล็งแน่นอน
  • หรือนำกำไรสุทธิมาลองคูณกับอัตราภาษี เพื่อวางแผนการจ่ายชำระค่าภาษีอากรได้ วางแผนว่าต้องสำรองเงินเพื่อจ่ายภาษีเท่าไหร่ และนอกจากนี้ทั้งปีที่เหลืออยู่ เรายังสามารถวางแผนใช้จ่ายให้เข้าเงื่อนไขลดหย่อนเพิ่มเติมของกรมสรรพากรได้อีกด้วย เช่น ถ้าทำทำบุญ บริจาคหรือให้สิ่งของประจำปีอยู่แล้ว ก็แค่ไปเรียนรู้ต่อว่าจะทำอย่างไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แล้วทำให้จ่ายค่าภาษีประจำปีลดลง

เพื่อนๆ คงเห็นความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงินที่จะส่งผลดีต่อตัวเราเองไปแล้วนะคะ ว่านักบัญชีอย่างเราถ้าเพิ่มการวิเคราะห์งบการเงินไปเป็นความสามารถติดตัว เราก็จะสามารถเป็นนักบัญชีที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารและลูกค้าค่ะ เพียงแค่ลองอัพสกิลเรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เพิ่มเติมเพียงเท่านี้ก็มีโอกาสเพิ่มค่าตัวได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : blog.cpdacademy.co


 618
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สิ่งสำคัญต่อไปที่ต้องทำในการจัดระบบบัญชีเพื่อการจัดการ คือการเลือกหาโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามาใช้ เพื่อความมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดคนและประหยัดเวลา การเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านจะต้องเปิดโอกาสให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องของท่านได้มีส่วนร่วมในการสรรหาด้วยเพราะเคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆว่าผู้บริหารเป็นผู้เลือกและตัดสินใจพอซื้อเสร็จก็โยนให้ฝ่ายบัญชีไปใช้ปรากฎว่าฝ่ายบัญชีรู้สึกว่าถูกบังคับก็เลยเกิดการต่อต้านหรือเกิดความไม่ชอบและไม่ให้ความร่วมมือจนในที่สุดก็กลายเป็นความล้มเหลว ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการเลือกโปรแกรมบัญชีมีดังนี้
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
ภาษีป้ายเป็นภาษีซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดเก็บ  เพื่อหารายได้มาพัฒนาท้องถิ่นของตน  โดยจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ 
รายได้มีความหมายในหลายด้าน เช่นความหมายทางธุรกิจซึ่งเป็นผลกำไรหรือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และความหมายของรายได้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งความหมายของรายได้มีความแตกต่างกันดังนี้
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์