9 ค่าใช้จ่ายที่หักเพิ่มได้ ในแบบ ภ.ง.ด.50

9 ค่าใช้จ่ายที่หักเพิ่มได้ ในแบบ ภ.ง.ด.50


มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ

1. รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา
รายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป สำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการหรือคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเป็น จำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 476) และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655)

2. รายจ่ายเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการ
รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใดๆ หรือสนามเด็กเล่นสวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการ เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นรายจ่ายเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 428)

3. รายจ่ายในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสถานศึกษา
รายจ่ายเป็นค่าจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านเป็น จำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 515)

4. รายจ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์
รายจ่ายเป็นค่าจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์เป็น จำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 519)

5. รายจ่ายเพื่อโครงการฝึกอบรมอาชีพฯ
รายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายบริจาคเพื่อโครงการฝึกอบรมอาชีพฯกระทรวงยุติธรรมเป็น จำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นเงินบริจาคดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 541)

6. รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานศึกษา
รายจ่ายการบริจาคเพื่อการศึกษานั้นกรมสรรพากรมีการออกพระราชกฤษฎีกาให้หักเป็นรายจ่ายได้สองเท่ามาเป็นระยะ ๆ ในเดือนกันยายน 2563 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 บัญญัติให้การบริจาคเพื่อการศึกษาของนิติบุคคลสามารถหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่าสำหรับการบริจาคในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 และการบริจาคต้องเป็นไปตามเงื่อนไข

7. รายจ่ายบริจาคให้แก่องค์กรกีฬา
รายจ่ายเป็นรายจ่ายบริจาคให้แก่องค์กรกีฬาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ตรวจสอบรายชื่อหน่วยงานด้านกีฬาที่หักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 2 เท่า ได้ที่ https://www.rd.go.th/fileadmin/download/sportsociety_200962.pdf

8. รายจ่ายเพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจการของ SMEs
รายจ่ายที่บริษัทฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินเกินกว่า 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานเกินกว่า 200 คน จ่ายเพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินกว่า 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินกว่า 200 คน ทั้งนี้ต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือค่าใช้จ่ายสำหรับการส่งเสริมการดำเนินกิจการที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ให้การรับรองเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2562 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

9. รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานพยาบาลราชการ
รายจ่ายเป็นรายจ่ายบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลของทางราชการที่ หักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 2 เท่า ได้ที่ https://www.rd.go.th/27811.html



รายจ่ายเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เพิ่มเติม แต่หากผู้ประกอบการต้องการใช้สิทธิประโยชน์จะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนนะคะ เพราะหากทำผิดเงื่อนไขแล้ว นอกจากจะนำมาเป็นรายจ่ายเพิ่มเติมไม่ได้ อาจจะโดนค่าปรับทางภาษีแถมเข้าไปอีกก็เป็นได้ค่ะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : blog.cpdacademy.co

 401
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี  หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร  ซึ่งได้แก่ เอกสารที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้จัดทำขึ้นเอง  เอกสารที่ได้รับมาจากกิจการที่ทำการตรวจสอบ  หรือที่ขอจากบุคคลภายนอกกิจการ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง
บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่ใช้บันทึกเลขที่บัญชีของบัญชีต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเลขที่บัญชีนี้จะต้องถูกกำหนดอย่างมีระบบ โดยตามมาตรฐานโดยปกติทั่วไปแล้ว เลขที่บัญชีจะต้องถูกกำหนดตามหมวดบัญชี โดยบัญชีทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวด
หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น  นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน  นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์