ประเภทของธุรกิจ (Business) มีกี่รูปแบบ? แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?

ประเภทของธุรกิจ (Business) มีกี่รูปแบบ? แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?



ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน เพื่อที่จะได้บริหารจัดการธุรกิจและจดทะเบียนการค้าได้ถูกต้อง รวมถึงจะสามารถคำนวณภาษีได้ถูกประเภทด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเรื่องการลงทุน ว่าหุ้นส่วนแต่ละคนจะลงทุนคนละเท่าไหร่ ได้กำไรหรือรับผิดชอบร่วมกันอย่างไร รวมถึงการขายหุ้นให้คนทั่้วไปสามารถร่วมลงทุนกับบริษัทได้อีกด้วย 

การรู้จักประเภทธุรกิจของตนเองเป็นอย่างดี จะทำให้การบริหารดำเนินงานเป็นไปได้ดีขึ้น มีความเป็นมืออาชีพและดูน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่านั่นเอง

ประเภทของธุรกิจ

ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้หลักๆ คือ แบบบุคคลธรรมดา ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ แบบนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด

1. ประเภทของธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว

ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก มีการจดทะเบียนการค้าแบบบุคคลธรรมดา การตัดสินใจต่างๆ รวมทั้งเรื่องกำไรหรือขาดทุนก็มีผลต่อเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ตัวอย่างเช่น เจ้าของร้านชำที่เราเห็นได้ทั่วๆ ไป

1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับกิจการเจ้าของคนเดียว เพียงแต่มีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ ผลจากกำไร และการขาดทุนเท่าๆ กันซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตรงที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้มีสถานะเป็นคณะบุคคลนั่นเอง

2. ประเภทของธุรกิจแบบนิติบุคคล

2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับห้างหุ้นส่วนสามัญ คือมีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพียงแต่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ความแตกต่างคือ หุ้นส่วนมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน คือ แบบรับผิดชอบในหนี้สินแบบจำกัด โดยรับผิดชอบไม่เกินเงินที่ได้ลงทุน แต่ไม่มีการสิทธิการตัดสินใจในกิจการ ส่วนแบบรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด โดยรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิในการตัดสินใจต่างๆ

2.2 บริษัทจำกัด

ธุรกิจที่มีผู้ร่วมดำเนินงานตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ถือหุ้นในจำนวนเท่าๆ กัน ซึ่งเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน บริษัทจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ธุรกิจประเภทนี้เหมาะกับกิจการที่มีรายได้หรือมูลค่าสูง มีความเป็นสากลเพราะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริษัทขึ้นมาบริหารและตัดสินใจการดำเนินงานต่างๆ

2.3 บริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทจำกัดที่นำหุ้นออกจำหน่ายให้บุคคลทั่วไปซื้อ และร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัทได้ตามสัดส่วนที่ซื้อ ซึ่งหุ้นดังกล่าวสามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่เดิมบริษัทมหาชนจำกัดต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 100 คน แต่ปัจจุบันต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน

2.4 องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

องค์กรธุรกิจจัดตั้ง มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป หุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน การชำระค่าหุ้นคือชำระครั้งเดียวเต็มจำนวน และกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน โดยลักษณะของธุรกิจมีดังนี้ ธุรกิจการเกษตร คือ การทำไร่ ทำสวน ปศุสัตว์ ธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งในครัวเรือน และอุตสาหกรรมโรงงาน ธุรกิจเหมืองแร่ ธุรกิจการพาณิชย์ ธุรกิจการก่อสร้าง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการให้บริการ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจอื่นๆ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ อย่างแพทย์ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มาบทความ >>www.finance<<

 174199
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้
ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่ใช้บันทึกเลขที่บัญชีของบัญชีต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเลขที่บัญชีนี้จะต้องถูกกำหนดอย่างมีระบบ โดยตามมาตรฐานโดยปกติทั่วไปแล้ว เลขที่บัญชีจะต้องถูกกำหนดตามหมวดบัญชี โดยบัญชีทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวด
การเริ่มต้นจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดนั้น จะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน และทำอะไรบ้าง เป็นคำถามที่หลายท่านสงสัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ หรือแม้แต่กระทั่งนักบัญชีมือใหม่เอง
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์