e Invoice และ e Tax invoice คืออะไรต่างกันอย่างไร

e Invoice และ e Tax invoice คืออะไรต่างกันอย่างไร



e Invoice และ e Tax invoice ถือว่าเป็นสองคำที่หลาย ๆ คนคุ้นหู วันนี้เราจะมาเจาะข้อสงสัยว่าสองคำนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร และใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง 

E Invoice

E Invoice หรือใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นใบที่ออกโดยเจ้าของเอกสารกับแก่ผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้รับสินค้าและบริการ โดยเอกสารจะสมบรูณ์เมื่อมีลายเซ็นของผู้ขายและผู้ซื้อ

โดยข้อมูลหลัก ๆ จะประกอบไปด้วยสองส่วนได้แก่

ข้อมูลของผู้ออกใบแจ้งหนี้

ประกอบไปด้วย วันที่ออกเอกสาร/เลขที่ใบแจ้งหนี้/ชื่อ-นามสกุล /ที่อยู่บริษัทหรือห้างร้าน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ออกใบแจ้งหนี้ รวมไปถึงลายเซ็นของผู้ออกใบแจ้งหนี้

ข้อมูลของลูกค้า

ประกอบไปด้วย ชื่อ-นามสกุล /ที่อยู่ของบริษัทหรือห้างร้าน/ รายละเอียดของสินค้าและบริการ/สรุปยอดของค่าใช้จ่ายทั้งหมด/ วันที่กำหนดสำหรับการชำระเงินสำหรับสินค้าและบริการ

e Tax invoice

e Tax invoice หรือใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ อ้างอิงจากกรมสรรพากรหมายถึง  เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำ และออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อ (Vat)

ใบกำกับภาษีมีทั้งหมดกี่แบบ

ใบกำกับภาษีแบบเต็มคือ ใบภาษีที่มีการแยกราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจน 

ใบกำกับภาษีแบบย่อคือ ใบภาษีที่มีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปแล้ว 

ธุรกิจหรือบริการไหนบ้างที่ต้องมีการออกใบกำกับภาษี

  • ผู้ประกอบการธุรกิจหรือสินค้าที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ผู้ค้าขายสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อมูลที่ต้องมีอยู่ในใบกำกับภาษี

สำหรับใบกำกับภาษีแบบเต็มนั้นจะประกอบไปด้วยข้อความดังต่อไป

  • เห็นคำว่า “ใบกำกับภาษี”.อย่างชัดเจน
  • ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษี
  • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
  • รายละเอียดของสินค้า ได้แก่ ชนิด ประเภท ปริมาณและราคา 
  • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากราคาสินค้าและบริการ ให้แยกออกจากสินค้าหรือบริการให้ชัดเจน
  • วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี

 

อ้างอิงจาก itax.in.th

 744
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์,กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์,พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม  วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด
Accounting Software หรือ โปรแกรมบัญชี ที่สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการบัญชีในบริษัท หรือ ธุรกิจของคุณนั้นง่าย และสะดวกมากขึ้นซึ่ง Software บัญชี มีด้วยกันหลากหลายประเภท และหลากหลายความต้องการ เพราะแต่ละธุรกิจนั้นมีความยากง่าย และความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ทำให้มีการพัฒนาระบบให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ทั้งบัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีภาษี หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆของบริษัท ก็มีการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของบริษัท และเจ้าของกิจการอย่างมากมาย
อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์