หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก

หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก



อากร
 หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

ของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร เป็นของที่ต้องเสียอากร  สามารถค้นหาอัตราอากร ได้จากพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530   โดยภาค 2 เป็นอัตราสำหรับการนำเข้า ทั้งนี้ ต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดพิกัดของของ ที่เรียกว่า ระบบฮาร์โมไนซ์  (สากล เป็นชุดเลขรหัส 6 หลัก แต่อาเซียนตกลงกันภายในจัดแบ่งย่อยเป็น 8 หลัก )  ภาค 3 เป็นอัตราสำหรับการส่งออก นอกจากนี้ในพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร ยังมีของที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นอากรหากนำของเข้า หรือ ส่งของออก แล้วแต่กรณี แต่ต้องมีลักษณะตามเงื่อนไขที่กำหนด  โดยสามารถค้นหาได้จาก ภาค 4 ว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร

อัตราภาษีที่เรียกเก็บ บางประเภทเรียกเก็บตามสภาพ บางประเภทเรียกเก็บตามราคา บางประเภทเรียกเก็บทั้งตามสภาพ และ ตามราคา

ตามสภาพ หมายถึง อัตราที่เรียกเก็บตามจำนวน ปริมาตร ปริมาณ เช่น กระบือตัวละ 500 บาท น้ำมันลิตรละ 0.50 บาท เป็นต้น

ตามราคา หมายถึง อัตราที่รียกเก็บตามร้อยละของราคาศุลกากร เช่น  รองเท้านำเข้า  อัตรา 30 % ของราคา C.I.F (Cost,Insurance and Freight : ราคาสินค้ารวมทำพิธีส่งออก/ค่าขนส่ง/ค่าประกัน)  
ไม้ส่งออก อัตรา 10% ของราคา F.O.B.(Free On Bord: ราคาสินค้ารวมทำพิธีส่งออก)

ของใดที่กฎหมายกำหนดให้มีทั้งอัตราตามสภาพ และ อัตราตามราคา ให้คำนวณทั้ง 2 แบบ และให้ชำระอากรตามแบบที่คำนวณอากรได้สูงสุด

ของนำเข้าที่นำเข้ามาเพื่อการส่งออก ไม่ว่าจะส่งออกในสภาพเดิม หรือ ในสภาพที่ผ่านกระบวนการผลิต สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่รัฐบาลกำหนดเพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรมีทั้ง การคืนอากรที่ได้ชำระแล้ว หรือ การยกเว้นอากรขาเข้า อากรขาออก ทั้งนี้ ผู้ใช้สิทธิประโยชน์ต้องทำตามเงื่อนไข วิธีการที่กฎหมายหรือประกาศกำหนด

การชำระอากร ให้ยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด ปัจจุบันเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่การนำเข้า ส่งออก บางประเภท กรมศุลกากรอนุญาตให้ไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้นำของเข้า หรือ ผู้ส่งของออก เช่น  ของทางไปรษณีย์   ของติดตัวผู้โดยสาร

อากรที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนเงินได้ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ หากชำระอากรไว้ขาดกรมศุลกากรมีสิทธิ์เรียกเก็บอากรที่ขาดได้ตามกำหนดเวลา   

ผู้นำของเข้า หรือ ผู้ส่งของออก หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทางศุลกากร ต้องเก็บเอกสารที่ใช้ในการศุลกากรตามที่กรมศุลกากรกำหนด 5 ปี นับแต่วันนำของเข้าหรือส่งของออก  และหากเลิกกิจการต้องเก็บไว้อีก 2 ปี นับแต่วันเลิกกิจการ

บทลงโทษ : การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีบทลงโทษ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา   




อ้างอิง : https://www.customs.go.th
 378
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน 
เราไปดูกันว่า 7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมีนั้น มีอะไรบ้าง
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์