ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ e-Tax Invoice & e-Receipt

ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ e-Tax Invoice & e-Receipt

e-Tax Invoice คืออะไร

“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล

ข้อดีของ e-Tax Invoice

  • เจ้าของธุรกิจจะลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเมื่อกรมสรรพากรได้รับข้อมูลภาษีซื้อ-ภาษีขายทางอิเล็กทรอนิกส์ครบถ้วนแล้ว ระบบจะจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายได้โดยอัตโนมัติ (Electronic VAT Report)
  • ลดต้นทุนในการจัดทำเอกสารใบกำกับภาษีและใบรับจากกระดาษเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • สะดวก ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร

ในการจัดทำ e-Tax Invoice มีด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้

1. e-Tax Invoice by E-mail

เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการระบบภาษีและ ที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี มีจำนวนใบกำกับภาษีที่ออกไม่มากนักและยังไม่พร้อมที่จะออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด

e-Tax Invoice by E-mail เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นไฟล์PDF-A3 มีการลงลายมือชื่อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic signature) แล้วส่งผ่านระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. หรือ ETDA) เพื่อรับรองเวลาด้วยระบบE-mail โดยผู้ประกอบการไม่ต้องส่งไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากร

2. e-Tax Invoice & e-Receipt

e-Tax Invoice (ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์) คือใบกำกับภาษีรวมถึงใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ ที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยระบบ E-Tax Invoice by E-mail

e-Receipt (ใบรับอิเล็กทรอนิกส์) คือใบรับหรือใบเสร็จรับเงินที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล ด้วยวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด

ผู้ที่มีสิทธิออก e-Tax Invoice และ e-Receipt

ผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือมีหน้าที่ออกใบรับ
2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี โดยมีวิธีการสร้าง ส่ง และเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้

ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt

1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบXML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล
2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธี
    3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการ upload file ในรูปแบบXML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th
    3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง
    3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
4. เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ข้อดีของการใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt

1.ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์และการจัดเก็บใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน
2.ลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารให้แก่กรมสรรพากร
3.ผู้ประกอบการสามารถนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้หลายวิธี


 97
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร อยากเครดิตภาษีต้องทำอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครดิตภาษีหรือไม่ เราลองมาไขปัญหาคาใจ เหล่านี้กัน
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้
Accounting Software หรือ โปรแกรมบัญชี ที่สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการบัญชีในบริษัท หรือ ธุรกิจของคุณนั้นง่าย และสะดวกมากขึ้นซึ่ง Software บัญชี มีด้วยกันหลากหลายประเภท และหลากหลายความต้องการ เพราะแต่ละธุรกิจนั้นมีความยากง่าย และความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ทำให้มีการพัฒนาระบบให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ทั้งบัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีภาษี หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆของบริษัท ก็มีการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของบริษัท และเจ้าของกิจการอย่างมากมาย
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์