งบเปล่าและการปิดงบเปล่า

งบเปล่าและการปิดงบเปล่า


งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง

โดยช่วงที่ต้องปิดงบเปล่า จะต้องมีผู้ทำบัญชีจัดทำงบเปล่าขึ้นมา และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบบัญชีพร้อมเซ็นรับรอง จากนั้นส่งให้กรรมการ (เจ้าของกิจการ) อนุมัติงบการเงิน และหลังจากอนุมัติแล้วให้นำส่งงบเปล่านี้ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือน

ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดตั้งแต่สิ้นรอบบัญชี ต้องให้เสร็จไม่เกิน 5 เดือน โดยยื่นงบการเงิน ลายเซ็นผู้สอบ และ บอจ.5 ผ่านทางออนไลน์ได้เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ส่วนกรมสรรพากร ให้ยื่นส่งงบการเงิน และ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบบัญชี

เงื่อนไขหรือสาระสำคัญของงบเปล่า

1. ต้องไม่มีรายละเอียดต้นงวดยกมาที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องพิสูจน์ความถูกต้อง ไม่ถือว่าเป็นงบเปล่า
2. มีการเคลื่อนไหวของรายการธนาคาร หรือมีการยื่นแบบภาษี (ที่ไม่ใช่แบบเปล่า) จะไม่ใช่งบเปล่า
3. ทุนจดทะเบียนบริษัท ต้องไม่เกิน 5 ล้านบาท ถ้านอกเหนือจากนี้ไม่ถือว่าเป็นงบเปล่า





ขอบคุณที่มา : sites.google.com
 299
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 
สินทรัพย์บางอย่างไม่มีตัวตนซึ่งหมายความว่าไม่มีลักษณะทางกายภาพ อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวยังคงต้องถูกหักภาษีโดยรัฐบาลบางแห่ง ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ต้องใช้ภาษีประเภทนี้ ได้แก่ ลิขสิทธิ์สิทธิบัตรและความลับทางการค้าเพื่อตั้งชื่อไม่กี่รายการ ตามธรรมชาติแล้วภาษีไม่มีตัวตนเป็นรูปแบบของภาษีการขายตามปกติจะกำหนดเมื่อมีการขายสินทรัพย์ทางกฎหมายหรือการแข่งขัน อัตราภาษีมักถูกกำหนดโดยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารายการซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการค้าปลีก แต่กฎนี้อาจแตกต่างกันระหว่างรัฐบาล
เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็น ปัญหา มากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์