หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก

หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก



อากร
 หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

ของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร เป็นของที่ต้องเสียอากร  สามารถค้นหาอัตราอากร ได้จากพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530   โดยภาค 2 เป็นอัตราสำหรับการนำเข้า ทั้งนี้ ต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดพิกัดของของ ที่เรียกว่า ระบบฮาร์โมไนซ์  (สากล เป็นชุดเลขรหัส 6 หลัก แต่อาเซียนตกลงกันภายในจัดแบ่งย่อยเป็น 8 หลัก )  ภาค 3 เป็นอัตราสำหรับการส่งออก นอกจากนี้ในพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร ยังมีของที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นอากรหากนำของเข้า หรือ ส่งของออก แล้วแต่กรณี แต่ต้องมีลักษณะตามเงื่อนไขที่กำหนด  โดยสามารถค้นหาได้จาก ภาค 4 ว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร

อัตราภาษีที่เรียกเก็บ บางประเภทเรียกเก็บตามสภาพ บางประเภทเรียกเก็บตามราคา บางประเภทเรียกเก็บทั้งตามสภาพ และ ตามราคา

ตามสภาพ หมายถึง อัตราที่เรียกเก็บตามจำนวน ปริมาตร ปริมาณ เช่น กระบือตัวละ 500 บาท น้ำมันลิตรละ 0.50 บาท เป็นต้น

ตามราคา หมายถึง อัตราที่รียกเก็บตามร้อยละของราคาศุลกากร เช่น  รองเท้านำเข้า  อัตรา 30 % ของราคา C.I.F (Cost,Insurance and Freight : ราคาสินค้ารวมทำพิธีส่งออก/ค่าขนส่ง/ค่าประกัน)  
ไม้ส่งออก อัตรา 10% ของราคา F.O.B.(Free On Bord: ราคาสินค้ารวมทำพิธีส่งออก)

ของใดที่กฎหมายกำหนดให้มีทั้งอัตราตามสภาพ และ อัตราตามราคา ให้คำนวณทั้ง 2 แบบ และให้ชำระอากรตามแบบที่คำนวณอากรได้สูงสุด

ของนำเข้าที่นำเข้ามาเพื่อการส่งออก ไม่ว่าจะส่งออกในสภาพเดิม หรือ ในสภาพที่ผ่านกระบวนการผลิต สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่รัฐบาลกำหนดเพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรมีทั้ง การคืนอากรที่ได้ชำระแล้ว หรือ การยกเว้นอากรขาเข้า อากรขาออก ทั้งนี้ ผู้ใช้สิทธิประโยชน์ต้องทำตามเงื่อนไข วิธีการที่กฎหมายหรือประกาศกำหนด

การชำระอากร ให้ยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด ปัจจุบันเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่การนำเข้า ส่งออก บางประเภท กรมศุลกากรอนุญาตให้ไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้นำของเข้า หรือ ผู้ส่งของออก เช่น  ของทางไปรษณีย์   ของติดตัวผู้โดยสาร

อากรที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนเงินได้ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ หากชำระอากรไว้ขาดกรมศุลกากรมีสิทธิ์เรียกเก็บอากรที่ขาดได้ตามกำหนดเวลา   

ผู้นำของเข้า หรือ ผู้ส่งของออก หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทางศุลกากร ต้องเก็บเอกสารที่ใช้ในการศุลกากรตามที่กรมศุลกากรกำหนด 5 ปี นับแต่วันนำของเข้าหรือส่งของออก  และหากเลิกกิจการต้องเก็บไว้อีก 2 ปี นับแต่วันเลิกกิจการ

บทลงโทษ : การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีบทลงโทษ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา   




อ้างอิง : https://www.customs.go.th
 389
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่า และเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์,กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์,พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ
สูตรการบัญชี ที่ใช้บ่อยที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลทางบัญชีไปวิเคราะห์ได้ง่ายยิ่งขึ้น จึง รวมสูดรบัญชี ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์