ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51

ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี

ภ.ง.ด 50 คืออะไร?

ตามกฎหมายแล้วนิติบุคคล (เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้เงินนิติบุคคล ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้งคือตอนกลางปี และตอนปลายปี

สำหรับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปีนั้นจะต้องใช้แบบ ภ.ง.ด. 50 เป็นแบบที่ผู้ประกอบการต้องกรอก เซ็นรับรองแบบโดยกรรมการหรือฝ่ายบัญชี ผู้สอบบัญชี และต้องแนบงบการเงินที่มีผู้สอบบัญชีเซ็นรับรอง เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยตามกฎหมายนิติบุคคลมีหน้าที่นำส่งแบบดังกล่าวภายใน 150 วัน ยกตัวอย่างเช่น หาก บริษัท Z จำกัด ปิดงบประจำปีวันที่ 31 ธันวาคม บริษัท Z จำกัด ก็มีหน้าที่ต้องนำส่งแบบ ภ.ง.ด.50 ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม ของปีถัดไป (150 วันนับจากวันที่ 31 ธันวาคม)

หลักการในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50 คือผู้ประกอบการ/ผู้ทำบัญชี จะต้องหากำไรทางภาษีมาคูณกับอัตราภาษีและนำมากรอกในแบบ ภ.ง.ด.50

ภาษีเงินได้นิติบุคคล = กำไรทางภาษี x อัตราภาษี  

วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50

สำหรับตัวอย่างแบบ ภ.ง.ด.50 และวิธีการในการกรอกแบบ ทุกท่านสามารถดูรายละเอียดจากกรมสรรพากรตามลิงค์นี้ได้เลยครับ : วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50

ภ.ง.ด. 51 คืออะไร?

ตามที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่าตัวภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะต้องยื่น 2 ครั้งนั่นคือกลางปีและปลายปี ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นตอนกลางปี ซึ่งตัวแบบดังกล่าวจะต้องเซ็นรับรองแบบโดยกรรมการหรือฝ่ายบัญชี เพื่อนำส่งกรมสรรพากร ตามกฎหมายนิติบุคคลมีหน้าที่นำส่งแบบดังกล่าวภายใน 2 เดือนนับจากวันที่กลางปี ยกตัวอย่างเช่น หาก บริษัท Y จำกัด ปิดงบประจำปีวันที่ 31 ธันวาคม กลางปีคือวันที่ 30 มิถุนายน ดังนั้นบริษัท Y จำกัด ก็มีหน้าที่ต้องนำส่งแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในเดือน สิงหาคม ของทุกปี (2 เดือนนับจากเดือนมิถุนายน)

วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 51

สำหรับการกรอกแบบ ภ.ง.ด.51 จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ควรทราบคือ การคำนวณภาษีกลางปีจะมี 3 รูปแบบให้เลือกคือ

  1. กรณีเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ
  2. กรณีเสียภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรก
  3. กรณีเสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย

สำหรับกรณีแรก : กรณีเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ จะเอาไว้ใช้สำหรับนิติบุคคลทั่วๆไปที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้เป็นธนาคาร ไม่ได้เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ หรือไม่ได้เป็นธุรกิจประกันภัย โดยให้ประมาณการกำไรสุทธิประจำปี แล้วเอามาเสียภาษีครึ่งหนึ่ง

สำหรับเหตุผลที่จะใช้ประมาณการกำไร เนื่องจากว่าบริษัทกลุ่มนี้ โดยมากแล้วจะปิดบัญชีกันปีละหนึ่งครั้งคือตอนสิ้นปีทีเดียว ดังนั้นจึงยังไม่มีตัวเลขกำไรที่แท้จริงในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา จึงต้องเสียภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิประจำปี แล้วเอามาเสียภาษีครึ่งหนึ่งไปก่อน

สำหรับกรณีที่สอง : กรณีเสียภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรก บริษัทกลุ่มนี้ เช่น บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ธนาคาร ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือประกันภัย ให้เสียภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก

สำหรับเหตุผลที่จะใช้กำไรที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากว่าบริษัทกลุ่มนี้ โดยมากแล้วจะปิดบัญชีกันทุกๆเดือนและจะต้องมีผู้สอบบัญชีมาสอบทาน/ตรวจสอบงบการเงินอย่างน้อยไตรมาศละครั้ง ดังนั้นบริษัทกลุ่มนี้จึงมีตัวเลขกำไรที่แท้จริงในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา จึงต้องเสียภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรกได้

สำหรับกรณีที่สาม : กรณีเสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย สำหรับผู้เสียภาษีในกรณีนี้จะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆดังนี้

  1. กิจการขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ
  2. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการแล้วมีรายได้

ฐานภาษีของนิติบุคคล กลุ่มนี้จะเสียภาษีจากรายรับก่อนหักรายจ่ายครับ และในการยื่นแบบเพื่อเสียภาษีตอนปลายปี หากเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศจะใช้แบบ ภ.ง.ด.52 หากเป็น มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการแล้วมีรายได้ จะใช้แบบ ภ.ง.ด.55 โดยจะต้องนำส่งภาษีภายใน 150 วันนับจากวันที่สิ้นรอบบัญชีครับ

สำหรับตัวอย่างแบบ ภภ.ง.ด.51 และวิธีการในการกรอกแบบ ทุกท่านสามารถดูรายละเอียดจากกรมสรรพากรตามลิงค์นี้ได้เลยครับ : วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด.51

สรุป

สำหรับท่านที่ยังสงสัยว่า แบบ ภ.ง.ด.50 และ แบบ ภ.ง.ด.51 คืออะไร? สามารถสรุปง่ายๆได้แบบนี้ครับว่า ภ.ง.ด.50 เป็นแบบที่เอาไว้ใช้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วนแบบ ภ.ง.ด.51 เป็นแบบที่เอาไว้ใช้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : tanateauditor.com

 3934
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
ลูกหนี้การค้า ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี
การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance
ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์