จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ


ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร

กรณีที่บริษัทมีตราประทับอยู่แล้ว แต่อาจชำรุด สูญหาย หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ บริษัทจะต้องแจ้งจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราประทับใหม่

ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

  • การจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการ
  • กรณีตราประทับบริษัทสูญหาย ให้ระบุ คำว่า "ตราหาย" แทนที่การประทับตราในคำขอจดทะเบียนและหนังสือมอบอำนาจ
  • กรณีตราประทับบริษัทชำรุด ให้ระบุ คำว่า "ตราชำรุด"
  • กรรมการผู้มีอำนาจ มีหน้าที่ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราประทับ


เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

  1. แบบ บอจ.1 คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดและหน้าหนังสือรับรอง
  2. คำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. แบบ บอจ.4 รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือมติพิเศษ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  5. ดวงตราสำคัญดวงใหม่
  6. หนังสือมอบอำนาจ
  7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

"ตัวอย่างการกรอกเอกสาร"


ค่าธรรมเนียม

  • จดทะเบียนแก้ไขตราประทับบริษัท 500 บาท
  • หนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท
  • รับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.twentyfouraa.com
 7697
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
สินทรัพย์ในทางบัญชี หมายถึง ทรัพยากรที่มีและอยู่ในการควบคุมของกิจการ สินทรัพย์นี้อาจจะเป็นสิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ซึ่งสามารถตีราคามูลค่าเป็นเงินได้ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผล ของ เหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคตเราสามารถ
ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์