ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว

ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว


ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่าย
ให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่า และเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี

บัญชีชุดเดียวคืออะไร  คือการจัดทำบัญชีตามข้อเท็จจริงของรายได้ธุรกิจ เพราะเนื่องจากในอดีตบางธุรกิจจะมีการทำหลายบัญชีเพื่อ

  1. ยื่นกู้ขอสินเชื่อ โดยสร้างความน่าเชื่อถือต่อรายได้ของบริษัทให้เกินจริง

  2. หลีกหนีภาษี โดยจัดรายได้บริษัทให้น้อยเกินกว่าต้องเสียภาษีโดยเมื่อเกิดการตรวจสอบแล้วไม่เป็นไปตามจริงเหมือนในเอกสารบัญชีจะถือเป็นความผิด และรัฐสามารถเอาผิดแก่ผู้ประกอบการได้ทันที

ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว

1. ตรวจสอบผู้ประกอบการและเร่งระดับความเป็น SMEs ให้มีความเป็นสากลได้มากขึ้น โดยนำบัญชีไปวางแผน

2. ทำให้เจ้าของกิจการได้ทราบถึงข้อมูลตัวเลขกำไรขาดทุนที่แท้จริง ทำให้สามารถวางแผนงานและการดำเนินงานธุรกิจต่อไปได้

3. บัญชีเดียวสามารถยื่นกู้สินเชื่อได้ตามจริง โดยเมื่อธนาคารตรวจสอบจะเห็นรายได้ตามจริงของบริษัทแต่ถ้าเป็นบัญชีที่ตกแต่งขึ้นมาผิดปกติหากเมื่อเกิดการตรวจสอบอาจทำให้บริษัทต้องขึ้น blacklist ได้

4. สามารถคำนวณการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง เพราะถ้าเกิดการฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการเสียภาษีผู้ประกอบการสามารถร้องเรียนได้ด้วยหลักฐานบัญชี

5. ช่วยรัฐวางแผนเศรษฐกิจระดับประเทศได้ถูกต้อง โดยนำตัวเลขมาเฉลี่ยและคำนวณรายการเติบโตของผู้ประกอบการในประเทศ และเอามาพัฒนานโยบายต่อไป

การทำบัญชีชุดเดียวในปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำ เพราะเป็นแนวทางการทำงานที่ทำให้วางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานทั้งการกู้เงินและการเสียภาษีได้ในชุดเดียว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ที่มา : GlobalLinker Staff
 351
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
การกำหนดมูลค่าลูกหนี้ เมื่อกิจการขายสินค้าและบริการควรจะรับรู้รายการและบันทึกบัญชีลูกหนี้ ณ วันใดด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการและมูลค่าที่จะเกิดกับลูกค้าดูได้จากเอกสารคือใบกำกับสินค้า ในการกำหนดมูลค่าลูกหนี้ที่จะบันทึกควรพิจารณาถึงส่วนลด (Discounts) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
กระบวนการบัญชีหรือวงจรบัญชี คือขั้นตอนในการรวบรวม การประมวลผลและการสื่อสารข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงการบันทึก การจำแนก การสรุปและการตีความข้อมูลทางการเงิน
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
สมุห์บัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่า บัญชีย่อยเจ้าหนี้จะมียอดรวมตรงกับบัญชีคุมยอดเจ้าหนี้การค้า...
ภาษีป้ายเป็นภาษีซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดเก็บ  เพื่อหารายได้มาพัฒนาท้องถิ่นของตน  โดยจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์